การพัฒนาชุดกิจกรรมการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานประดิษฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรม, สร้างสรรค์งานประดิษฐ์, วัสดุธรรมชาติบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 43 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.72/82.50 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุจากธรรมชาติ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
จินตนา ใบกาซูยี. (2542). การทำหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บูรพาสาส์น.
จินตนา สมศิลป์ และพรสิริ เอี่ยมแก้ว. (2560). “การพัฒนาชุดการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง อาหารในชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.” วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์12 (34): 155-167; มกราคม-เมษายน.
นภาลัย สุวรรณธาดา และคณะ. (2553). การเขียนผลงานทางวิชาการและบทความ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
น้ำค้าง ยี่สุ่นซ้อน. (2557). “ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การประดิษฐ์ผีเสื้อน้อยเกาะตู้เย็น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนคลองบ้านพร้าว เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1,” การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รวิพัชร์ นิลพัฒน์ และคณะ. (2563). “ผลการใช้ชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่องการดูแลรักษาบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.” วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม 15 (2): 279-290; มกราคม-มิถุนายน.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แอลทีเพรส.
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตคลองสามวา. (ม.ป.ป.). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้การพัฒนาสังคม รายวิชา สค23117 คลองสามวาน่าเรียนรู้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตคลองสามวา.
สมทรง เอี่ยมไธสง. (2557). “ผลการใช้ชุดการสอนเรื่องการประดิษฐ์ดอกไม้โดยใช้ใบไม้ในท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สมบูรณ์ พันธุ. (2560). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะงานประดิษฐ์บายศรีสู่ขวัญประยุกต์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.” วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 6 (2): 86-98; กรกฎาคม-ธันวาคม.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.