การพัฒนาระบบบริหารโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลแม่กาษา แม่ปะและท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ระบบบริหารโครงข่าย, การท่องเที่ยวโดยชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบบริหารโครงข่ายการท่องเที่ยว โดยชุมชนตำบลแม่กาษาแม่ปะ ท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก” มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนศักยภาพการจัดการ CBTและกำหนดกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนท้องถิ่น สร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนสมาชิกภายในองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอแม่สอด และพื้นที่ใกล้เคียง พัฒนาขีดความสามารถเครือข่ายในการบริหารจัดการ การตลาด และการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงข่าย CBT เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชุมชนภายในเส้นทางท่องเที่ยว ตามระดับศักยภาพและกิจกรรม ที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันในรูปแบบเส้นทางท่องเที่ยวแบบวงรอบ การวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และพัฒนาระบบบริหารโครงข่ายการท่องเที่ยว โดยชุมชนให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) กลุ่มผู้รู้ 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติการ 3) ผู้สนใจทั่วไป 4) กลุ่มนักท่องเที่ยวคนไทยที่เดินทางมาเที่ยวแม่สอดเพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ศักยภาพชุมชนตำบลแม่ปะ แม่กาษา ท่าสายลวด สรุปออกเป็น 3 ด้าน คือ 1.ชุมชนพหุวัฒนธรรมชายแดน ดังนี้ 1.1) ชุมชนไทใหญ่ 1.2) ชุมชนล้านนา 2.มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย 2.1) ทรัพยากรธรรมชาติ ป่า ถ้ำ น้ำตก 2.2) สถานที่สำคัญ วัดไทยวัฒนารามสถาปัตยกรรมสวยงาม คอกช้างเผือก พิพิธภัณฑ์ไม้แกะสลัก 2.3) สิ่งอำนวยความสะดวก สนามบินที่พักและร้านอาหาร 3. เป็นชุมชนจัดการตนเองด้าน 3.1) การท่องเที่ยวโดยชุมชน 3.2) การปรับตัวต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง องค์กรภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ 1) องค์กรเครือข่ายภายใน คือ กลุ่มแกนนำ ผู้ประกอบการในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน 2) องค์กรหนุนเสริมภายนอก หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อประชาสัมพันธ์ 3) กลุ่มผู้ประกอบการผู้ประกอบการท่องเที่ยวและบริการ 4) กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย การพัฒนาศักยภาพด้วยกระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนพื้นที่ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วม ร่วมคิดร่วมทำร่วมรับผลและร่วมประเมินผลส่งผลดีต่อการพัฒนาระบบโครงข่ายให้เกิดรูปธรรมจากการพัฒนาศักยภาพชุมชนสามารถสรุปเป็นอัตลักษณ์ คือ “ ท่องเที่ยววิถีชุมชน มนต์เสน่ห์เมืองพหุวัฒนธรรมชายแดน ”การเชื่อมโยงโครงข่ายด้านการท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับปัจจัย และองค์ประกอบที่สำคัญ คือ 1) การศึกษาวิเคราะห์บริบทพื้นที่ 2) วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) การค้นหาทีมกลุ่มคนที่ร่วมพัฒนาเน้นการเข้าร่วมอย่างมีอิสระ 4) การวางเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน 5) พัฒนาโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง 6) การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬ า. (2550). นโยบโยด้านการท่องเที่ยว. เข้าถึงได้จาก www.mots.go.th/ewtadmin/ewt/mots_web57/ewt_news.php?nid=5953.
การพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2547). “คูมือการดําเนินงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนตามแผนปฏิบัติการกรมการพัฒนาชุมชน”. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
เจษฎา นกน้อย. (2554). การจัดการความหลากหลายในองค์กร : ตัวแบบทางด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อความเท่าเทียมกันของผู้มีอัตลักษณ์หลากหลายทางเพศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดุสิต หวันเหล็ก. (2552). การพัฒนาแนวคิดธรรมสมานฉันท์ของสังคมพหุวัฒนธรรมตาม ทรรศนะของตำรวจตระเวนชายแดนที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษัณ.
นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2550) .ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
บัญญัติ ยงยาวน. (2551). การส่งเสริมพัฒนาการเด็กในบริบทของความหลากหลายวัฒนธรรม.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. มหาวิทยาลัยมหิดล.เข้าถึงได้ จาก http://www.cf.mahidol.ac.th/autopage/file/SatAugust2008-16-15-47-4.
พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้นงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชนแนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. โครงการประสาน งานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวและชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุน การ วิจัย (สกว.) สำนักงานภาค. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ : วนิดา เพรส
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.