ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้งานระบบ VPN (Virtual Private Network) ในช่วงวิกฤตการณ์แพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของพนักงานธนาคารออมสิน

ผู้แต่ง

  • สุณิสา ปุราโส
  • ฐานิตา ฆ้องฤกษ์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดบริหาร, ไวรัสโคโรนา, ระบบ VPN

บทคัดย่อ

        ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้งานระบบ VPN (Virtual Private Network) ในช่วงวิกฤตการณ์แพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของพนักงานธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และศึกษาส่วนประสมการตลาดในการใช้งาน VPN (Virtual Private Network) ของพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานของธนาคารออมสินมีการปฏิบัติงานที่บ้านจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ซึ่งแรงจูงใจด้านที่มากที่สุด คือ ความต้องการขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ในส่วนของด้านความพึงพอใจมาก คือ เพื่อนร่วมงาน ส่วนประสมทางการตลาดบริหาร (7Ps) ส่วนมากจะอยู่ในด้านกระบวนการ (Process) และด้านการใช้งานระบบ VPN (Virtual Private Network) ของพนักงานธนาคารออมสิน โดยมีค่าเฉลี่ยรวม (X̅) ร้อยละ 3.38 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวม (S.D.) คือ 1.41 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง แต่โดยส่วนมากจะพนักงานของธนาคารออมสินมีความรู้ในใช้งานระบบ VPN (Virtual Private Network) ของธนาคาร ถึงร้อยละ 3.48 ดังนั้นสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนปัจจัยที่มีผลกระทบให้กับพนักงานของธนาคารออมสินได้

References

กชกร นาทันลิ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา พนักงานธนาคารออมสินเขตเชียงใหม่ 2 จังหวัดเชียงใหม่. สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

กิตติพงษ์ รัตนา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจด้านสวัสดิการของพนักงานธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่. สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

จรัสพร รุมชเนาว์. (2561). การศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการเพื่อการแก้ไขปัญหายอดสินเชื่อที่มีหลักประกัน กรณีศึกษา ธนาคารออมสินเขตราชวัตร. สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

จันทนา พุทธชัยยงค์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจและพฤติกรรมการใช้บริการเงินฝากของลูกค้า ธนาคารออมสินสาขาบางแค กรุงเทพมหานคร. สาขาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ปฏิญญา เมืองอินทร์. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานและลูกจ้าง ธนาคารออมสินเขตเชียงใหม่ 2. สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วัฒนพล ลีลาวิไลลักษณ์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย กรณีธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่. สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สมบัติ อาริยาศาล. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฤทธิ์เจตน์ รินแก้วกาญจน์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และปัจจัยด้านการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียวกรุงเทพมหานคร. สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยสยาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-04-2023