ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1

ผู้แต่ง

  • ธนวัต ทรัพย์อุปถัมภ์ -
  • นลธวัช ยุทธวงศ์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, ผู้บริหารสถานศึกษา, กลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 และ 2) เพื่อหาแนวทางภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ประชากรและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้น จำนวน 164 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และแนวทางภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนจตุรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 พบว่า 1) ด้านหลักพรหมวิหาร 4 ผู้บริหารควรมีความรักปรารถนาดี มีความจริงใจ ยินดีช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ มีใจเป็นกลางโดยไม่เลือกปฏิบัติ และยึดหลักความเสมอภาค ยุติธรรมต่อทุกคน 2) ด้านหลักอิทธิบาท 4 ผู้บริหารควรมีใจรักในสิ่งที่ทำ มีความตั้งใจมุ่งมั่นทุ่มเท มีความรับผิดชอบ และไตร่ตรองรอบคอบในการปฏิบัติงานเสมอ 3) ด้านหลักฆราวาสธรรม 4 ผู้บริหารควรมีความจริงใจ พูดจริงทำจริง มีความอดทน ไม่หวั่นไหวท้อถอย และมีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีสติควบคุมอารมณ์ได้ และ 4) ด้านหลักสังคหวัตถุ 4 ผู้บริหารควรมีความเต็มใจยินดีช่วยเหลือผู้อื่น ใช้คำพูดที่สุภาพให้กำลังใจ ถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์และปฏิบัติตนวางตัวเหมาะสมเสมอต้นเสมอปลาย

 

References

กฤษพล อัมระนันท์. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ไกรยส ภัทราวาท. (2559). รายงานการสัมมนาการศึกษาไทย 4.0. 14 ตุลาคม 2559. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิดาภา เร่งมีศรีสุข. (2560). พุทธภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์. (2557). จริยศาสตร์ : ปรัชญาจริยะสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา คุ้มเงิน. (2564). ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐศรัณย์ ชุมวรฐายี. (2560). ศึกษาหลักฆราวาสธรรม 4 ในการดำเนินชีวิตของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาวัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นพพล ศุภวิทยาเจริญกุล. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). จริยธรรมธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ฉบับปรับปรุงใหม่ กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พระธรรมโกศาจารย์. (ประยูร ธมฺจิตฺโต). (2551). ทำอย่างไรจึงเรียนเก่ง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพาบ ชิตมาโร. (ปีสะหวาด). (2556). ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารตามหลักฆราวาสธรรม 4 โรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร. ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิณญ์บุหงา แสงศรีธรรมะกูล. (2555). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เมย์ อำนวยพันธ์วิไล. (2556). วิธีการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามหลักอิทธิบาท 4 ของกลุ่มโรงเรียนขาณุวรลักษณ์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สลิลทิพ ชูชาติ. (2556). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุบรรลุ เหตุผล. (2561). ภาวะผู้นำตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิสิทธิ์ ทนคำดี. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต23. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อรพรรณ เทียนคันฉัตร. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

อารีรัตน์ อินราย. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้อำนาจของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำงานของครู โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2023