การพัฒนาท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชนบ้านผารังหมี ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงเกษตรบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนบ้านผารังหมี ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนบ้านผารังหมี ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้อธิบายเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนบ้านผารังหมี ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ด้านดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว ด้านความสะดวกสบายในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านความประทับใจในแหล่งท่องเที่ยว ด้านองค์ประกอบของการบริการ ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ด้านความสะดวกในการเข้าถึง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านสภาพแวดล้อม และด้านข้อจำกัดในการรองรับนักท่องเที่ยว ทั้ง 9 ด้าน ส่งผลต่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของบ้านผารังหมี ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก ทั้งนี้เพราะคณะกรรมการและชาวบ้านมีการร่วมมือพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน ให้เกิดประโยชน์แก่คนในชุมชนและนักท่องเที่ยว ที่ต้องการเข้าถึงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมและวัฒนธรรมของชุมชน ชุมชนบ้านผารังหมีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นแหล่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนใจ มีความสะดวกสบายในการเดินทาง มีป้ายบอกทางที่สามารถเข้าถึงชุมชนได้ ทำให้การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเป็นเรื่องง่าย 2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านผารังหมี ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ด้านกิจกรรมรูปแบบสาธิตแหล่งท่องเที่ยว ด้านกิจกรรมรูปแบบการให้ความรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้านรูปแบบจำหน่ายสินค้าชุมชนและด้านรูปแบบแนะนำธุรกิจเกษตร ทั้ง 4 ด้าน ส่งผลต่อพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านผารังหมีทั้งนี้เพราะชุมชนมีกิจกรรมรูปแบบสาธิตแหล่งท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ 5 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ที่ 1 กลุ่มทอเสื่อกก แหล่งเรียนรู้ที่ 2 กลุ่มทอผ้า แหล่งเรียนรู้ที่ 3 กลุ่มแปลงนาสาธิต แหล่งเรียนรู้ที่ 4 กลุ่มการแปรรูปผลิตภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ที่ 5 กลุ่มโฮมสเตย์ รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นกิจกรรมสาธิตแหล่งท่องเที่ยวที่แสดงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเพณีที่สื่อให้เห็นวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม โดยรูปแบบกิจกรรมที่สาธิตนั้น คือ สาธิตวิธีการทอผ้าอย่างละเอียดที่นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้การทอผ้าอย่างมืออาชีพจากชาวบ้าน นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้และนำการทอผ้าไปปรับใช้ในการสร้างอาชีพของตนเองได้ หรือการสาธิตการทอเสื่อกกจากต้นกกเป็นต้นไม้ที่ขึ้นตามธรรมชาติสามารถนำมาทำเป็นเสื่อกก ที่ไว้ใช้ในการปูนั่ง และมีรูปแบบการให้ความรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรเป็นการบรรยายเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่นักท่องเที่ยวจะสามารถนำไปต่อยอดความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยเรียนรู้จากการสาธิตของชาวบ้านชุมชนบ้านผารังหมี ซึ่งเกษตรอินทรีย์ที่นำมาสาธิตเป็นของง่ายๆ ที่หาได้ตามทั่วไป เช่น เศษอาหารจากการกินเหลือ เป็นต้น
References
ฉันทัข วรรณถนอม. (2552). ความหมายและความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : https://tourismatbuu.wordpress.com./, สืบค้น 15 กันยายน 2564.
เทพกร ณ สงขลา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกับการจัดการทรัพยากรเกษตรของชุมชน: กรณีศึกษาท่องเที่ยวเชิงเกษตรช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช.(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : https://kukr2.lib.ku.ac.th/, สืบค้น 15 กันยายน 2564.
เทพกร ณ สงขลา (2554). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : https://kb.psu.ac.th/, สืบค้น 26 กันยายน 2564.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2542). แนวคิดเกี่ยวกับศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://digital_collect.lib.buu.ac.th/, สืบค้น 15 กันยายน 2564.
ปาริฉัตร สิงห์ศักดิ์ตระกูล และพัชรินทร์ เสริมการดี. (2556). หลักเกณฑ์การพิจารณาและการกำหนดศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : File:///C:/Users/acer/Downloads/pattamaporn/.สืบค้น 26 กันยายน 2564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.