การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการมีส่วนร่วมทางการเมือง: กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
เครือข่ายสังคมออนไลน์, การมีส่วนร่วม, การเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการมีส่วนร่วมทางการเมือง: กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการมีส่วนร่วมทางการเมือง กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการมีส่วนร่วมทางการเมือง กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เพศ สถานภาพ การศึกษา และ อายุ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับงานวิจัยเชิงปริมาณนี้เป็นแบบสอบถาม โดยการคำนวณจากตารางสำเร็จรูป Yamane, 1973 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequencies Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้สถิติเชิงอนุมาน T-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F–test (One–way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีอายุระหว่าง 31-40 ปี การสำรวจความคิดเห็นต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในภาพรวมปรากฎอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 3.57 (SD.=0.55) และเมื่อจำแนกเป็นรายองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบด้านการแชทส่งทางไลน์ Line มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด = 3.64 (SD.=0.69) รองลงมาเป็นองค์ประกอบด้านการแชทส่งทางเฟชบุ๊กวิดีโออัพโหลด กลุ่มตัวอย่าง ให้ความเห็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.31 (SD.=0.49) และเมื่อจำแนกเป็นรายองค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบด้านการรณรงค์หาเสียง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.82 (SD.=0.72) รองลงมาเป็นองค์ประกอบด้านการเลือกตั้ง ค่าเฉลี่ย 3.74 (SD.=0.64) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามลักษณะประชากร พบว่าไม่มีนัยความแตกต่างทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กนก จินดา. (2557). การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 5(2), 16-26
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์. มหาวิทยาลัย.
เฉลิมชัย นาคแสนพญา. (2553). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชัยนัท สุขไชยะ และ ชาญชัย จิวจินดา. (2557). การสื่อสารทางการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์กรณีศึกษา เฟซบุ๊กเพจ SUTHEP THAUGSUBAN (สุเทพ เทือกสุบรรณ) ช่วงเวลา 31 ตุลาคม 2556 ถึง 22 พฤษภาคม 2557. วารสาร มมร. วิชาการล้านนา ปีที่ 8 (1) (มกราคม-มิถุนายน).
ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีงบประมาณ 2553.
มงคล พวงกิจจา. (2553). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พรสวรรค์ สุตะคาน. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองกับพฤติกรรมการเมืองของประชาชนในอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 13(2) กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.
สะถิระ เผือกประพันธุ์. (2554). การสื่อสารทางการเมืองของนายอุทัย พิมพ์ใจชน: ศึกษาในห้วงระหว่างปี พ.ศ. 2512-2549. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.
อุดม ไพรเกษตร และปิยากร หวังมหาพร. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านทางสื่อสังคมเฟสบุ๊คของหน่วยงานภาครัฐ. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1) ประจำเดือน มกราคม – เมษายน 2560.
Bisballe, L. (2006). The intercultural city - making the most of diversity ( Thematic study). Social entrepreneurship as a space for interculturalcommunication and innovation. Retrieved February 3, 2011, from: http://www.coe.int/t/dg4/cultureheritage/culture/cities/Publication/SocialEntrepreneurship.pdf
Coleman,J. (2005). Introducing Speech and Language Processing. Cambridge University. Press. ISBN 0-521-53069-5. Reviewed by Danie.
Huntington, Samuel P. and Joan M. Nelson. (1976). No Easy Choice: Political Participation in Developing Countries. Cambridge. Mass: Harvard University Press.
William B. G. , & Mody.B. (2002). Handbook of international and intercultural communication. Sage Publications, 2002 - 606.
Samovar, A. L, Porter E.R. , & Mcdaniel,R.E. (2009) . Enhance your intercultural communication learning experience! Intercultural Communication: A Reader, Thirteenth Edition Library of Congress Control data is on record at the Library of Congress. ISBN-13: 978-0-495-89831-3.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (Third edition). New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.