ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ที่มีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ของผู้บริโภคฝั่งธนบุรี

ผู้แต่ง

  • เกสรี สมประสงค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • ณัฐพร มาประชา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์, ส่วนประสมการตลาดออนไลน์, ฝั่งธนบุรี

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ของผู้บริโภคฝั่งธนบุรี 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคฝั่งธนบุรี 3) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคฝั่งธนบุรีที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน t-test และ one way ANOVA กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างต้องอาศัยอยู่ในฝั่งธนบุรี และมีประสบการณ์การซื้อสินค้าออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า เพศ อายุ รายได้ของผู้บริโภคฝั่งธนบุรีมีผลต่อส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคฝั่งธนบุรี พอใจการซื้อสินค้าประเภทสุขภาพและความงาม เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ เครื่องสำอาง ปัจจัยในการซื้อสินค้าออนไลน์ คือประหยัดค่าเดินทาง ราคาสินค้าถูกกว่า โดยมีช่องทางการซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านชอปปี้ (Shopee) มีความถี่ในการซื้อ 1-2 ครั้งต่อเดือน และใช้งบประมาณในการซื้อ 101-300 บาท

References

ชัยวัฒน์ พิทักษ์รักธรรม. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ บธ.ม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

ปุลณัช เดชมานนท์. (2556). การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ในช่วงเวลา จำกัด. วิทยานิพนธ์ บธ.ม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ปรมะ เสตะเวทิน. (2533). ความแตกต่างของประชากรด้านจิตวิทยา. (Vol. พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

พัชราภรณ์ เมธีการย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งต่อการตัดสินใจซื้อของธุรกิจการจำหน่ายเครื่องสำอางผ่านเฟสบุ๊ก. วิทยานิพนธ์ บธ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, เชียงใหม่.

มนต์ชัย วงษ์กิตติไกรวัล. (2563). มองความคิดผู้บริโภคผ่านสินค้าที่ซื้อในช่วงวิกฤตโควิด-19 โลกจะไม่เหมือนเดิมอีกจริงหรือ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563, จาก http://themomentum.co/Covid-19-change-consumer-behavior/

รมย์ธีรา จิราวิภูเศรษฐ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมบริโภคของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. บทความวิชาการ, มหาวิทยาลัยพิษณุโลก, พิษณุโลก.

สมวลี ลิมป์รัชตามร. (2563). เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค-ผู้ประกอบการจะไปต่อทิศทางไหนหลังสถานการณ์โควิด-19 . สืบค้นเมือง 5 กรกฎาคม 2563, จาก https://marketeeronline.co/archives/158845 สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562).

อาภาภรณ์ วัธนกุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านทางเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยมของประเทศไทย. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-03-2023