ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการที่พักระดับ 5 ดาว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา : อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการใช้บริการ, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps), ที่พักระดับ 5 ดาวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการที่พักระดับ 5 ดาว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา : อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้บริการ และความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบบังเอิญจากกลุ่มตัวอย่างของผู้ที่เคยใช้บริการที่พักระดับ 5 ดาว ในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานผลการวิจัย พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31- 40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน และ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 35,000 บาทขึ้นไป ด้านพฤติกรรมการใช้บริการ พบว่า เคยใช้บริการ 2-3 ครั้ง วัตถุประสงค์ในการเข้าพักคือเพื่อการท่องเที่ยวแบบพักผ่อนกับครอบครัวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ครั้งละ 2-3 คืน สำรองห้องพักผ่านเว็บไซต์จองห้องพัก อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อการเข้าพัก 1 คืน คือ 5,001-6,000 บาท รู้จักที่พักผ่านเพื่อน ตัดสินใจเข้าพักด้วยตนเอง สาเหตุหลักในการตัดสินใจเข้าพักคือคำแนะนำผ่านอินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์ และคาดว่าจะกลับมาใช้บริการอีก ด้านความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดย ด้านลักษณะทางกายภาพมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ และลำดับสุดท้ายคือ ด้านราคา จากการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการที่พักแตกต่างกัน และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านลักษณะทางกายภาพมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการที่พัก อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี2565.สืบค้นจาก http://www.mots.go.th/allcont.php?cid=657&filename=.
ฐิติกาญจน์ ทวยเจริญ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกที่พักในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, คณะบริหารธุรกิจ). สืบค้นจาก http://www.me-abstract. ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/127.
พรรธนันท์ คล่องสั่งสอน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าชาวไทยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าชาวไทยในการเข้าพักโรงแรมห้าดาวริมน้ำย่านบางรัก. กรุงเทพฯ :Dusit Thani College Journal,/13(2), 154-166.
พรนภา ธนโพธิวิรัตน์. (2564). คุณภาพบริการและปัจจัยทางการตลาดที่สัมพันธ์กับคุณภาพการบริการที่พักหลังการผ่อนปรนมาตรการจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19.Dusit Thani College Journal, 15(2), 68-79.
รจิต คงหาญ. (2560). การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวแบบหรูหรา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย,12(2), 94-104.
สุชญา อมรกล. (2562). พฤติกรรมที่ส่งผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเข้าพักโรงแรมลันตาแซนด์ รีสอร์ท แอนด์สปา ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่.การศึกษาค้นคว้าอิสระ,มหาวิทยาลัยรามคำแหง,คณะบริหารธุรกิจ. สืบค้นจาก http://www.ba-abstract.ru.th/index.php/abstractData/viewIndex/586.ru.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.