ปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ของการเรียนออนไลน์ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • ธนดล หลำชาวนา
  • ธดาพรพรรณ กลิ่นหอม
  • เนตรนภา ทองดอนง้าว
  • ลลิตา ศรีเรือง
  • รสสุคนธ์ ประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ผลสัมฤทธิ์, การเรียนออนไลน์

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนออนไลน์ และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะการเพิ่มประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ในการเรียนออนไลน์ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ด้านผู้เรียน เป็นปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือมีค่าเฉลี่ย 3.73 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ย 3.59 อยู่ในระดับมาก ด้านเนื้อหาและสื่อการเรียน มีค่าเฉลี่ย 3.17 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการวัดและการประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 2.95 อยู่ในระดับปานกลาง และด้านผู้สอน มีค่าเฉลี่ย 2.89 อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

        ข้อเสนอแนะ ระบบเครือข่ายโดยและเทคโนโลยีเฉพาะอินเตอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการเรียนออนไลน์เป็นอย่างมากดังนั้นควรได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาเพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน และปัจจัยด้านผู้สอนควรสร้างเทคนิคการสอนและผลิตสื่อที่มีความน่าสนใจเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และประสิทธิผลของการเรียนออนไลน์

References

Kanjana Ninnun. (2559). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สืบค้น 1 ตุลาคม 2564. จาก https://shorturl.asia/Ep34K.

Maymatavee. (2559). ความหมายของสื่อการเรียนการสอน. สืบค้น 1 ตุลาคม 2564. จาก https://shorturl.asia/Ql3J5.

ชนิดา ยอดสาลี, กาญจน บุญส่ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคิรีขันธ์ เขต 2. สืบค้น 28 เมษายน 2565. จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/61676/50806.

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สืบค้น 28 เมษายน 2565. จาก file:///C:/Users/ASUS%20GT/Downloads/boonsri1,+Journal+manager,+275.pdf.

นิตยา มณีวงศ์. (2564). ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ แอปพลิเคชันไลน์ ในช่วงวิกฤต COVID 19. สืบค้น 28 เมษายน 2565. จาก https://edujournal.bsru.ac.th/storage/1770/13%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%B2.pdf.

ปาจรีย์ คุ้มสิงห์สันต์, แขก บุญมาทัน และน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของครูที่สอนวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. สืบค้น 28 เมษายน 2565. จาก http:// research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/A024.pdf.

อินทร์แก้ว โอภานุเคราะห์กุล. (2563). โควิดระลอก 3 ผลกระทบต่อคนไทย ไม่ใช่เรื่องตลก. สืบค้น 7 ตุลาคม 2564. จาก https://shorturl.asia/2iMO9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-03-2023