จากเทวันธชาดกสู่เทวันคำกาพย์: การดัดแปลงรูปแบบการนำเสนอจากปัญญาสชาดกเป็นนิทานคำกาพย์ในวัฒนธรรมการสวดอ่านหนังสือของไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐา ค้ำชู มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ปัญญาสชาดก, นิทานคำกาพย์, การดัดแปลงรูปแบบการนำเสนอวรรณกรรม

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาเทวันธชาดก ในปัญญาสชาดก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่ม2 ปัจฉิมภาค ลำดับที่ 6 และเทวันคำกาพย์ซึ่งบันทึกไว้ในสมุดไทยด้วยภาษาไทยโบราณปัจจุบันต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ในด้านการดัดแปลงรูปแบบการนำเสนอ ผลการวิจัยพบว่าเทวันธชาดกมีรูปแบบการนำเสนออย่างชาดกในนิบาตแต่ไม่เคร่งครัด ส่วนเทวันคำกาพย์มีรูปแบบการนำเสนออย่างนิทานประพันธ์ด้วยคำกาพย์หรือกลอนสวด ด้านการดัดแปลงรูปแบบการนำเสนอพบว่ากวีดัดแปลงส่วนต้นเรื่องจากปัจจุบันวัตถุซึ่งเป็นการกล่าวถึงสาเหตุการเล่านิทานเรื่องนั้นๆ ของพระพุทธเจ้ามาเป็นบทไหว้ครู อัตวิพากษ์ของกวี และปรารภเรื่องในนิทานคำกาพย์ ดัดแปลงส่วนเนื้อเรื่องจากอดีตวัตถุคือตัวนิทานชาดกซึ่งอ้างว่าเป็นเรื่องในอดีตของพระพุทธเจ้าและคาถาคือบทร้อยกรองภาษาบาลีมาเป็นการดำเนินเนื้อเรื่องนิทานโดยมิได้กล่าวว่าเป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าและดัดแปลงส่วนลงท้ายเรื่องจากประชุมชาดกซึ่งเป็นการเชื่อมโยงว่าตัวละครในเรื่องกลับชาติมาเกิดเป็นบุคคลใดในสมัยพุทธกาลมาเป็นอวสานบท การดัดแปลงรูปแบบการนำเสนอดังกล่าวทำให้นิทานคำกาพย์มีรูปแบบการนำเสนอที่สอดคล้องกับธรรมเนียมนิยมในการประพันธ์นิทานสำหรับสวดอ่านเป็นท่วงทำนองเพื่อความบันเทิงซึ่งเป็นที่นิยมของชาวบ้านชาววัดของสังคมไทยในอดีตทำให้นิทานมีชีวิตอยู่ในบริบทสังคมวัฒนธรรมขณะนั้นได้

References

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2547). วรรณกรรมประเภทกลอนสวดภาคกลาง : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนสิน ชุตินธรานนท์. (2555). สัมพันธบทของบทละครเวทีเรื่องสาวิตรีและการสร้างสรรค์ใหม่เพื่อสื่อสารอุดมคติแห่งรัก. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิยะดา เหล่าสุนทร. (2558). ปัญญาสชาดก : ประวัติและความสำคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ลายคำ.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2551). นิทานพื้นบ้านศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญาสชาดกฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่มสอง. (2549). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : พิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

หอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เจ้าเทวันสมุด 1. สมุดไทยขาว, อักษรไทย, ภาษาไทย, เส้นหมึก, เลขที่ 170.

หอสมุดแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เทวัน เล่ม 2. สมุดไทยขาว, อักษรไทย, ภาษาไทย, เส้นหมึก, เลขที่ 169.

เอื้อนทิพย์ พีระเสถียร. (2529). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเรื่องและอนุภาคในปัญญาสชาดก. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-03-2023