การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวชุมชนคนสองแผ่นดินสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแแม่ระมาด จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวชุมชน, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม, ชุมชนคนสองแผ่นดินบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวชุมชนคนสองแผ่นดินสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายที่จะเข้าร่วมพัฒนา 2) เพื่อศึกษาศักยภาพนิเวศวัฒนธรรมของเครือข่ายชุมชนตำบลขะเนจื้อ 3) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมชุมชนตำบลขะเนจื้อที่จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน และ 4) เพื่อศึกษาขีดจำกัดการรองรับของการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลขะเนจื้อ วิธีสำหรับการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณเป็นตัวตั้งและตามด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการศึกษา และพัฒนาผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวชุมชนคนสองแผ่นดินสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ที่เน้นคนในพื้นที่ให้มีส่วนร่วมทุกขั้นตอน โดยมีเครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสังเกต แบบสอบถามกึ่งทางการ แบบบันทึกภาคสนาม กล้องถ่ายรูป และเครื่องบันทึกเสียง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มภาคีเครือข่าย กลุ่มแกนนำชุมชน กลุ่ม ปราชญ์ท้องถิ่นตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนาโวหาร ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการสร้างภาคีเครือข่ายชุมชนที่จะเข้าร่วมพัฒนามีการสร้างเครือข่ายจากประชาชนในตำบลขะเนจื้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และหน่วยงานภาครัฐ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลขะเนจื้อ ได้ทีมวิจัยชุมชน จำนวน 21 คน มีคณะที่ปรึกษา จำนวน 8 คน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 9 แห่ง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชน และได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน 2) ผลการศึกษาศักยภาพนิเวศวัฒนธรรมของเครือข่ายชุมชนตำบลขะเนจื้อทำให้ทราบว่าพื้นที่ตำบลขะเนจื้อที่โดดเด่น มีทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในหมู่ที่ 6 บ้านหม่องวา และหมู่ที่ 12 บ้านห้วยปลากอง มีทรัพยากรที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่ที่ 6 บ้านหม่องวา มีประเพณี วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเชื่อและความผูกพันของคนสองแผ่นดินในหมู่ที่12 บ้านห้วยปลากอง 3) ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมชุมชนตำบลขะเนจื้อ ที่จะนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนได้อัตลักษณ์ " มาวันเดียวเที่ยวสองแผ่นดินเรียนรู้วิถีถิ่นชาวปกาเกอะญอ " กำหนดเส้นทางท่องเที่ยวได้ 2 เส้นทางดังนี้เส้นทางที่ 1" วิถีคนสองแผ่นดินกับธรรมชาติแม่น้ำเมย " เส้นทางที่ 2 " เสน่ห์ภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอ " 4) ผลการศึกษาขีดจำกัด การรองรับของการท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลขะเนจื้อ ได้ดำเนินการอบรมนักสื่อความหมายการอบรมเป็นเจ้าบ้านที่ดี การศึกษาดูงานทำให้ขีดความสามารถของทีมวิจัยชุมชนได้รับการพัฒนาขึ้นชาวบ้านเห็นคุณค่ามีกระบวนการคิดในการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมรดกวัฒนธรรมส่งผลให้นิเวศวัฒนธรรมจะยังคงยั่งยืนมั่นคง
References
จิรพันธ์ ทองเจริญ. (2552). การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนไทยใหญ่บ้านปางหมู จังหวัดแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐพงษ์ สายพวงแก้ว.(2554).การบริหารจัดการพื้นที่เมืองเก่าเวียงกุมกามโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักย์ศรน์ มงคลอิทธิเวช และคณะ. (2552). กระบวนการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อให้เป็นชุมชนน่าอยู่ : กรณีศึกษา บ้านสบยาบ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัญธิกา ชั่งกฤษ. (2554). กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อสร้างเสริมจิตสำนึกการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาท้องถิ่น.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.