การศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดกของผู้ประกอบการในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ นิลจันทร์
  • ชนิดา ยาระณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

กองมรดก, ภาษีกองมรดก, ภาษีการรับมรดก

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดกของผู้ประกอบการในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดกของผู้ประกอบการในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตามลักษณะประชากรศาสตร์ เช่น เพศ  อายุ ระดับการศึกษา การประกอบธุรกิจ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดกของผู้ประกอบการในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตาก อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่มีอายุตั้งแต่ 20 - 59 ปี จำนวน 400 ราย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย T-test และ One Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดกของผู้ประกอบการในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อยู่ในระดับน้อยที่สุด 2) ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดกของผู้ประกอบการในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตามลักษณะประชากรศาสตร์ เช่น อายุ ระดับการศึกษา การประกอบธุรกิจ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน มีระดับความรู้ความเข้าใจที่ต่างกัน และ 3) การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดกของผู้ประกอบการในเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้แก่ ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีมรดกน้อย และให้มีการประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับภาษีมรดกตามสื่อต่าง ๆ ให้มากขึ้น

References

กรมสรรพากร, (2558). ภาษีการรับมรดก สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2561. จาก http://www.rd.go.th/publish/27614.0.html.

กมลทิพย์ ทองพิชัย. (2551). ปัญหาข้อกฎหมายการจัดเก็บภาษีมรดกกับประเทศไทย. การศึกษาอิสระนิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จังหวัดตาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี : 2561 สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2561. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดตาก

ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม. (2558). ภาษีมรดก. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558. จากห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม เข้าถึงได้จาก www.library.coj.go.th

ดารณี ศิโรเวฐน์. (2520). ปัญหาในการจัดเก็บภาษีมรดกและภาษีการให้. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤทัย พูลสวัสดิ์. (2545). ภาษีมรดก. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผกา อึ้งเศรษฐพันธ์. (2556). ภาระภาษีมรดกในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. คณะเศรษฐศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558. (2558). ราชกิจจานุเบกษา. 132 (72 ก) หน้า 1-11.

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 (5 สิงหาคม 2558) ราชกิจจานุเบกษา. 132 (72 ก) หน้า 12-15.

ภรณ์ทิพา หงส์กุลทรัพย์. (2558). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ปี 2558 (หน้า 1-2). คณะนิติศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วราภรณ์ สามโกเศศ. (2525). ภาษีการขายอสังหาริมทรัพย์ : ภาษีกึ่งทรัพย์สินกึ่งมรดก. วารสารกรมบัญชีกลาง. 23, 4.

ศานิต ร่างน้อย. (2541). การศึกษาความเหมาะสมในการนำระบบภาษีมรดกมาใช้จัดเก็บในประเทศไทย. (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. รุ่นที่ 43).

สุธีรา ชูบัณฑิต. (2559). รัฐกับการจัดเก็บภาษีมรดก. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2559. จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/comm.php?url=view&comm_id=1562...id.

สรรเสริญ แก้วกำเนิด. (2559) ภาษีการรับมรดก. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2559. จาก http://www.realist.co.th/blog/.

อำเภอแม่สอด จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี : 2561 สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2561. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอแม่สอด

อดุลย์ มีสมนนัย. (2560). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดกพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 (หน้า1-2). คณะนิติศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-03-2023