ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการพัฒนามนุษย์และดัชนีความสุขของประเทศทั่วโลก

ผู้แต่ง

  • นูรไอนี เด่นบุรณะ
  • ธนวิทย์ บุญสิทธิ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

คำสำคัญ:

ดัชนีการพัฒนามนุษย์, ดัชนีความสุขโลก

บทคัดย่อ

          บทความนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการพัฒนามนุษย์และดัชนีความสุขของประเทศทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการพัฒนามนุษย์และดัชนีความสุขและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศทั่วโลก โดยการศึกษาในครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อน (Multiple regression analysis) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลภาคตัดขวาง (Cross-sectional data) จากฐานข้อมูลดัชนีการพัฒนามนุษย์ปี 2016 และฐานข้อมูลดัชนีความสุขโลกปี 2016 โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 157 ประเทศ ผลการศึกษาพบว่า ประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงที่สุด 10 ประเทศ ได้แก่ นอร์เวย์ ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี เดนมาร์ก สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ แคนาดา และประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ต่ำที่สุด 10 ประเทศ ได้แก่ เอริเทรีย เซียร์ราลีโอน โมซัมบิก ซูดานใต้ กินี บุรุนดี บูร์กินาฟาโซ ชาด ไนเจอร์ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และประเทศที่มีดัชนีความสุขโลกสูงสุด 10 ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ฟินแลนด์ แคนาดา เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สวีเดน และประเทศที่มีดัชนีความสุขโลกต่ำสุด 10 ประเทศ ได้แก่ มาดากัสการ์ แทนซาเนีย ไลบีเรีย กินี รวันดา เบนิน อัฟกานิสถาน โตโก ซีเรีย บุรุนดี นอกจากนี้ จากการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการพัฒนามนุษย์และดัชนีความสุขของประเทศทั่วโลก พบว่าดัชนีการพัฒนามนุษย์และดัชนีความสุขของประเทศทั่วโลก มีความพันธ์กัน อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 57 และจากการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อดัชนีการพัฒนามนุษย์ พบว่าอายุขัยเฉลี่ยมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ ปีเฉลี่ยการศึกษา ค่าใช้จ่ายงานวิจัยและการพัฒนา จำนวนประชากรระดับการคอร์รัปชั่นเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อดัชนีการพัฒนามนุษย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05

References

เฉลิมพล แจ่มจันทร์. (2556). ดัชนีการพัฒนามนุษย์ปี 2556 กับความรุ่งโรจน์ของโลกทางใต้. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560. จากรายงานการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

จิต อร่าม, และปริญญา. (2013). การพัฒนามนุษย์ในมุมมองของนักสาธารณสุข. วารสารคณะพลศึกษา. สืบค้นเมื่อ 11กุมภาพันธ์ 2560.

วริสราสุ กุมลจันทร์. (2553). การพัฒนามนุษย์ในมุมมองของอมาตยาเซน Human development from Amartya Sens perspective. สืบค้นเมื่อ 11กุมภาพันธ์ 2560.

สมบัติ กุสุมาวลี. (2539). แนวคิดการพัฒนามนุษย์. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. ปีที่ 36 (ฉบับที่ 3), หน้า 171-189. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2560.

เสรี ลีลาลัย. (2553). ความสุขทางเศรษฐกิจ และความสุขมวลรวมประชาชาติ. วารสารรามคำแหง ปีที่ 27 (ฉบับที่ 1), หน้า 151-163. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2560.

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2554). คุณภาพชีวิตของคนไทย: นัยจากดัชนีการพัฒนามนุษย์. วารสารนักบริหาร 31 (4), 46-54. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560.

จรรยา ดาสา. (2552). ความสุขในการทำงาน (happy workplace). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://www.il.mahidol.ac.th/th/images/stories/exchange/7-05-52_Column_6.pdf.

ชัยเสฎฐ์ พรหมศรีสา. (2553). ความสุขในการทำงาน. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/jan_mar_10/pdf/89-91.pdf.

สาวสุธิดา แสงทองสุข. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีการพัฒนามนุษย์กับเป้าหมายทางเศรษฐกิจ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560.

อาวุธ ไขแสง. (2550). การสำรวจและจัดทำดัชนีความสุขของประชาชน : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลไสไทย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. ปริญญานินธ์ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น). ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560.

สุภาณี สุขะนาคินทร์. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของประชาชน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การวิจัยและพัฒนท้องถิ่น). อุตรดิตถ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และกนกพร นิตย์นิธิพฤทธ์. (2553). ความสุขมณฑลความรู้ใหม่ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท เอดิสันเพลส โปรดักส์ จำกัดสืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560

Vertakova, Y., Polozhentseva, Y., Plotnikov, V., & Isayev, M. (2015). Directions of human potential development in Russia. Procedia Economics and Finance, 23, 495-500. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560.

Rodriguez-Munoz, A., & Sanz-Vergel, A. I. (2013). Happiness and well-being at work: A special issue introduction. Revista de Psicología del Trabajoy de las Organizaciones, 29(3), 95-97. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560.

Zidanšek, A. (2007). Sustainable development and happiness in nations. Energy, 32(6), 891-897. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2560 จาก http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/ S0360544206002623.

Veenhoven, R. (1991). Is happiness relative, Social Indicators Research. 24: 1-34. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2560.

Veenhoven, R. (1997). Advances in understanding happiness, Revue Quebecoise de Psychologie. 18:29-74. English versionavailable on line จาก http://www.eur.nl/fsw/personeel/happiness/. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2560.

Sachs, J., Becchetti, L., & Annett, A. (2016). World Happiness Report 2016, Special Rome Edition (Vol. II; intro., chapters I and III). New York: Sustainable Development Solutions Network. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560.

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์. (2557). การศึกษาการลดความยากจนและการพัฒนาเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศต่างๆทั่วโลก. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-03-2023