คุณลักษณะนักการเมืองที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • พิชัย สารภักดิ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์
  • ณรงค์ฤทธิ์ เครือไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์
  • วิริศรา เชนะโยธิน วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์

คำสำคัญ:

คุณลักษณะนักการเมือง, พึงประสงค์ของประชาชน

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักการเมืองที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม 2)เพื่อศึกษาคุณลัก ษณะนักการเมืองที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม  3)เพื่อเปรียบเทียบและทดสอบสมมติฐานของคุณลักษณะนักการเมืองที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยมีการใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random S ampling) เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวด้วยค่าเอฟ (F-test) แบบ One – way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า       

1)สภาพทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 51.20 มีอา ยุอยู่ระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.50 ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีคิดเป็นร้อยละ 72.80 อาชีพ เป็นเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 37.50 และมีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001 – 10,000 บาทคิดเป็นร้อยละ 45.00 ตามลำดับ  2)คุณลักษณะนักการเมืองที่พึงประสงค์ของประชาช นในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\dpi{80}&space;\fn_jvn&space;\bar{x}= 4.04) ถ้าพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากได้แก่ ด้านความดี( gif.latex?\dpi{80}&space;\fn_jvn&space;\bar{x} = 4.15) ด้านความรู้ (gif.latex?\dpi{80}&space;\fn_jvn&space;\bar{x}= 4.14) ด้านค วามกล้า (gif.latex?\dpi{80}&space;\fn_jvn&space;\bar{x}= 3.95) และด้านความเก่ง (gif.latex?\dpi{80}&space;\fn_jvn&space;\bar{x}= 3.94) ตามลำดับ 3)ผลการเปรียบเทียคุณลักษ ณะนักการเมืองที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม ในแต่ละด้านแย กตามเพศ อายุ และการศึกษา อาชีพและรายได้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน และผลการทดสอบสมมติฐานคุณลักษณะนักการเมืองที่พึงประสงค์ของประชา ชนในเขตอำเภอเมืองมหาสารคาม โดยการทดสอบค่าที (t- test) จำแนกตามเพศที่แตกต่า งกัน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และมีการทดสอบค่าเอฟ (F-test) แบบ One way ANOVA จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แต กต่างกัน พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และรายได้รา ยได้ต่างกันพบว่ามีความแตกต่างกัน (p. = 0.001 < 0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงต้องมีการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการ LSD.(Least of Significance Difference)

References

ชารี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศิลปะบรรณาการ.

ทวิช จิตรสมบูรณ์. (2552). คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักการเมืองที่ดี 4 ประการ.กรุงเทพฯ : ธีระการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. ( 2532). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

แพรวพรรณ สุทธิดี. (2560). คุณลักษณะของผู้นำที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลภูกระดึง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ภาคนิพนธ์ปริญญาตรี. วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ นครราชสีมา, จังหวัดนครราชสีมา.

ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์.(2543). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.

วิมานพร รูปใหญ่. (2555). การศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมคิด พิริยะรังสรรค์. (2549). ระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองและคอร์รปชั่น ภูมิคุ้มกันคอร์รัปชั่น.ศูนย์วิจัยธรรมาภิบาล : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สมาน รังสิโยกฤษณ์และสุธี สุทธิสมบูรณ์. (2530). การบริหารราชการ. กรุงเทพฯ : สวัสดิการสำนักงานข้าราชการพลเรือน.

อำนวย สังข์ช่วย. (2556). นักการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองบ้านทุ่ม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมงานวิจัย วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท๋ นครราชสีมา , จังหวัดนครราชสีมา.

Yamane, Taro. (1973).Statistics : An Introductory Analysis.3 nd. New York : Harper and Row.จาก www.http//stat.dopa.go.th/stat/statnew/up

stat_age_disp.php เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 เข้าดูวันที่ 15 มีนาคม 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-03-2023