การสร้างมูลค่าเพิ่มระบบนิเวศวัฒนธรรมสู่การจัดการท่องเที่ยว ภายใต้บริบทเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยภาคีเครือข่ายตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ และ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • สวาท ไพศาลศิริทรัพย์

คำสำคัญ:

การสร้างมูลค่าเพิ่ม, ระบบนิเวศวัฒนธรรม, การจัดการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่อง“การสร้างมูลค่าเพิ่มระบบนิเวศวัฒนธรรมสู่การจัดการท่องเที่ยวภายใต้บริบทเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยภาคีเครือข่ายตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ  และตำบลท่าสายลวดอำเภอ แม่สอด จังหวัดตาก”มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบนิเวศวัฒนธรรมตำบลแม่กา ษา ตำบลแม่ปะ และตำบลท่าสายลวด ศึกษาพลวัตรการตั้งรับเปลี่ยนแปลงพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษที่นำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวของตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ และตำบ ลท่าสายลวด พัฒนำขีดความสามารถเครือข่ายชุมชนตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ และตำบ ลท่าสายลวด ในการบริหารจัดการท่องเที่ยวและการตลาดและสร้างและเชื่อมร้อยภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  การวิจัยครั้งนี้ใช้กระ บวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการศึกษา และมีพัฒนาให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางมุ่งเสริมพลังอำนาจให้แก่ประ ชาชนในพื้นที่ ด้วยกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น(C BR) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1)กลุ่มผู้รู้ 2)กลุ่มผู้ปฏิบัติการ และมี 3)ผู้สนใจทั่วไป  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาระบบนิเวศวัฒนธ รรมตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ และตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด  จังหวัดตากพบว่าชุม ชนตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ ตำบลท่าสายลวด ซึ่งเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมผสมผสานขอ งชาวล้านนา ชาวไทยใหญ่และเป็นพื้นที่ชายแดนมีทรัพยากรธรรมชาติมีวิถีวัฒนธรรมมีอัตลั กษณ์โดดเด่นมีความสมัครสมานสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ผืนป่าให้เป็นป่าชุมชนที่มีค วามอุดมสมบูรณ์มีทรัพยากรธทรัพยากรธรรมชาติสวยงามร่มรื่น ถ้ำ ป่า น้ำตกและน้ำพุร้อนที่เป็นที่พักผ่อนของนักท่องเที่ยว คนในชุมชนมีพลวัตรการตั้งรับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เศรษฐ กิจพิเศษที่นำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวทำให้คนในพื้นที่มีการตื่นตัวกับการตั้งรั บสถานการณ์การที่เกิดขึ้นแสดงถึงคนในชุมชนที่เป็นนักต่อสู้หาทางออกที่ไม่เคยย่อท้อกับสถานการณ์หรือแรงกดดันต่าง ๆ ที่ถาโถมมาทั้งการเปลี่ยนแปลงเมือง เนื่องจากการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นเมืองชายแดนนั้นประกอบ กับการที่พื้นที่มีการเคลื่อนย้ายคนเข้าออกจำนวนมากมายที่แตกต่างกันทั้งชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยว ทำให้คนในพื้นที่หาทางออกอยู่เสมอผลการพัฒนาขีดความสามารถเครือข่ายชุมชนตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ และตำบลท่าสายลวด ชุมชนมีทักษะการบริหารจัดการท่ องเที่ยวและการตลาด คนในพื้นที่มีวิธีคิดเชิงระบบ ทำงานเป็นทีม ตระหนักเห็นคุณค่าทรัพ ยากรมรดกวัฒนธรรม มีอัตลักษณ์ คือ“ทรัพยากรล้ำค่า ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ วัฒนธรรมไทให ญ่และล้านนา เมืองการค้าชายแดน” และยังสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการสร้างสินค้าทางการท่องเที่ยวด้วยการสร้างและเชื่อมร้อยภาคีเครือข่ายการท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยใช้ทุนทรัพยากรที่มีเป็นฐานพัฒนาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มหารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวท่องเที่ยวโดยชุมชน  ร่วมกับภาคีเครือข่ายจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมที่ โดดเด่นและเสน่ห์เมืองชายแดน คนในชุมชนมีความพ ร้อมและมีภาคีเครือข่ายที่คอยส่งเสริมการพัฒนาเพื่อรองรับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบครบวงจร

References

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2556). แนวคิดเรื่องพหุนิยม เบื้องต้น. ในรือเสาะ พหุวัฒนธรรม: ความหลากหลายและมิตรภาพจากความทรงจำของ “คนใน” บนพื้นที่สีแดง. นาญิบ

บิน อะห์หมัด. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์, 2556. 9-13.

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). เอกสารสังเคราะห์วิธีวิทยางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.

ชุลีรัตน์ จันทร์เชื้อ และคณะ. (2557). การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการเรียนรู้มรดกวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ณัฏฐินี ทองดี และแพรวโพยม พัวเจริญ. (2554). การศึกษาอัตลักษณ์และคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมสู่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวเยาวชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทย-อนุเคราะห์ไทย.

นภารัตน์ กิตติรัตนมงคล. (2562).การจัดการตนเองของภาคประชาสังคมเพื่อการเข้าสู่เขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก. กรุงเทพฯ.

พูนลาภ ทิพชาติโยธิน. (2553). Value-Added Activities เพิ่มลูกค้าด้วยกิจกรรมเพิ่มมูลค่า.

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. (2545).การเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่11). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชนในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตว์.

เจษฎา นกน้อย . (2554). แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ 2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2550) .ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-03-2023