ผลกระทบของมาตรการลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพ ต่อกลุ่มบริษัทธุรกิจ ประกันภัยและประกันชีวิตที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชินภัทร แสนสุภา
  • ชนิดา ยาระนะ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ประกันสุขภาพ, ลดหย่อนภาษี, ธุรกิจประกันชีวิต

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของมาตรการลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพ กลุ่มธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิตที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการใช้มาตรการลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพของรัฐบาลในอนาคตเกี่ยวกับการลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพให้แก่คู่สมรสและบุตรการศึกษาใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 36 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงสำหรับกลุ่มผู้ขายประกันจำนวน 9 คนและเลือกตัวอย่างแบบก้อนหิมะหรือแบบลูกโซ่ สำหรับกลุ่มผู้ซื้อประกัน จำนวน  27  คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง      ผลการศึกษาพบว่า ด้านผู้ขายประกัน มองว่ามาตรการลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพมีผลกระทบต่อรายได้จากการขายประกันสุขภาพ โดยมียอดขายเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง   ปัจจัยหลักมาจากกระแสความนิยมของคนไทยที่เริ่มสนใจซื้อประกันสุขภาพซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องซื้อเพื่อคุ้มครองตนเอง แต่มาตรการลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพเป็นปัจจัยที่เสริมเข้าไปเพื่อสร้างแรงจูงใจในการซื้อ และมองว่าหากให้สิทธิลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพแก่คู่สมรสและบุตร จะเป็นแรงจูงใจในการซื้อประกันสุขภาพมากขึ้น สำหรับด้านผู้ซื้อประกันมีเหตุผลหลักคือความต้องการซื้อประกันเพื่อความคุ้มครองด้านสุขภาพให้กับตนเองและแบ่งเบาภาระด้านรายจ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ส่วนเรื่องลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องรอง หากเพิ่มวงเงินมากขึ้นหรือให้สิทธิลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสุขภาพแก่คู่สมรสและบุตรจะเป็นแรงจูงใจสำคัญที่จะทำให้มีคนมาซื้อประกันสุขภาพมากขึ้น 

References

กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ฉบับที่ 263 พ.ศ.2549. (2549). ราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา 123 (122 ก). หน้า 6-7.

กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรเบี้ยประกันภัยสำหรับเบี้ยประกันภัยแบบบำนาญ ฉบับที่ 279 พ.ศ.2554. (2554). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา 128 (11 ก).หน้า 31-32.

กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรเบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ ฉบับที่ 334 พ.ศ. 2560.(2560). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา 134 (122 ก). หน้า 1-2.

ชุติญา จิรกฤตยากุล.(2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อประกันสุขภาพ ของบริษัทเอไอเอ จำกัด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, 3(3), 74-86.

ชัยสิทธิ์ บุณยเนตร, วนภา วรวรางกูร, มยูร บุญยะรัตน์, กานต์ จันทร์วิทยานุชิต, พงศกร แก้วเหล็ก และคงเดช กาญจนนันทวงศ์. (2560). การศึกษาแนวทางการจ ากัดการให้สิทธิหักค่าลดหย่อนในภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง,กรุงเทพมหานคร.

ดัชนีเอไอเอ เฮลธ์ตี้ ลิฟวิ่ง อินเด็กซ์. ( 20 มิถุนายน 2561). การสeรวจแนวโน้มสุขภาพ แรงจูงใจและความวิตกกังวลในเรื่องสุขภาพของบุคคลและชุมชนทั่วไปในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคครั้งที่ 4, สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2561,เข้าถึงได้จาก http://www.aia.co.th/th/about-aia/Media-centre/ press-releases/2561/ AIA_RESEARCH_REVEALS_THAILAND_FACING_ CRITICAL_ILLNESS_FINANCING_GAP.html

เด่นเดือน นิคมบริรักษ์, วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี, ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ และพรชัย ฬิลหาเวส.(2556). การพัฒนาแนวทางอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพ. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง, สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.), เครือข่ายสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), กรุงเทพมหานคร.

เดินหน้าดูแลคนไทย 5 กลุ่มวัย. (2560). ส านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/ Content/35780-เดินหน้าดูแลคนไทย%205%20กลุ่มวัย.html.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัย. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(2), 31-48.

ทัศนี ดวงรัตน์. สถานการณ์ธุรกิจประกันชีวิตในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต. คู่มือปฏิบัติงานสำหรับตัวแทนประกันชีวิต. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย : หน้า 23-24.

เบญจมาภรณ์ ณรงค์แสง. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบการรายย่อย กรณีศึกษาเขตพื้นที่เมืองทองธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 4(2), 166-170.

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 162). พ.ศ.2549.

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 315) พ.ศ.2560.

ประวิทย์ เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ : การเรียนรู้ของครูและการสร้างพลังร่วมในโรงเรียน. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้าวิชาการ. หน้า 11.

พิชา สิริโยธิน. (4 ตุลาคม 2560). 8 เดือนยอดเบี้ยประกันชีวิตแตะ 3.8 แสนล้านโต 6.58%โค้งสุดท้ายอัดโปรดักต์กระตุ้นลูกค้าซื้อลดหย่อนภาษี. ประชาชาติธุรกิจ .เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/finance/news-49626.

ฤทธิพร ส่งเสริมสวัสดิ์. (2561). ค่ารักษาพยาบาล : ต้นทุนชีวิต และโจทย์การคลังภาครัฐ.ทีม Business Risk and Macro Research. บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน).สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561, เข้าถึงได้จาก https://sme.ktb.co.th/sme/productListAction.action?command= getDetail& cate Menu= KNOWLEDGE&cateId= 37&itemId=166.

วารุณี อินวันนา. (2560). ความสัมพันธ์พรูเด็นเชียล ปี 2560. พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต.เข้าถึงได้จาก http://www.posttoday.com/finance/insurance/524548.

วรรณวรางค์ จันทรคาต และดารณี เอื้อชนะกิต. (2558). พฤติกรรมการลดหย่อนภาษีต่อการประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของข้าราชการกรมคุมประพฤติ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครกระทรวงยุติธรรม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธุกิจบัณฑิต,3(3),286-293.

สุทธิพล ทวีชัยการ. (12 ธันวาคม 2560). กรมธรรม์ชีวิต-ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้.ข่าวด้านเศรษฐกิจ.รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561, จาก http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/8689.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2556). 10 เรื่องควรรู้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ.(แผ่นพับ) : 5-6.

สมสุดา ผู้พัฒน์. (2558). การเขียนรายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้าที่1-5. งานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2558. โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์.

อธิภัทร มุทิตาเจริญ. (2560). 5 มุมมองใหม่จากข้อมูลผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. วารสารAbridged Marketing Research Accessible. สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์,พิมพ์ครั้งที่ 19 ปี 2560, 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-03-2023