การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการละทิ้งตะกร้าสินค้าเมื่อซื้อผ่านตลาดออนไลน์

ผู้แต่ง

  • รวิพรรณ สุภาวรรณ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การละทิ้งตะกร้าสินค้าออนไลน์, คุณค่าด้านความบันเทิง, เครื่องมือในการหาข้อมูล, รอการลดราคา, ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว

บทคัดย่อ

          เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้อินเทอร์เน็ตและอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยในทิศทางบวก ซึ่งการเติบโตทำให้เกิดประเด็นใหม่  คือ  การละทิ้งตะกร้าสินค้าซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเจ้าของแพลตฟอร์มออนไลน์และผู้ประกอบการดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อการละทิ้งตะกร้าสินค้าออนไลน์เมื่อซื้อจากตลาดออนไลน์ โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม 150 คน ด้วยแบบสอบถามจากผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ สำหรับการทดสอบสมมติฐานงานวิจัยนี้ ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณเพื่อทด สอบอิทธิพลของตัวแปร คุณค่าด้านความบันเทิง เครื่องมือในการหาข้อมูล รอการลดราคา และความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่ส่งผลต่อการละทิ้งตะกร้าสินค้าออนไลน์ผลการศึกษาพบว่า   คุณค่าด้านความบันเทิง   และรอการลดราคามีอิทธิพลเชิงบวกต่อการละทิ้งตะกร้าสินค้าออนไลน์ที่ระดับ  .05 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และไม่พบหลักฐานว่าความต้องการใช้ตะกร้าสินค้าเป็นเครื่องมือในการหาข้อมูลและความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวส่งผลต่อการละทิ้งตะกร้าสินค้าออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

References

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A.-G. (2009). Statistical power analysesusing g*power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. BehaviorResearch Methods, 41(4), 1149-1160. doi : 10.3758/BRM.41.4.1149.

Hair, J.F., Jr., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis : A global perspective (7th ed.). Upper Saddle River: Pearson Education, Inc.

HubSpot. (2020). How to avoid the 15 most common reasons for shopping cartabandonment. Retrieved April 17, 2021, from https://cdn2.hubspot.net/.

Kukar-Kinney, M., & Close, A.G. (2010). The determinants of consumers’ online shopping cart abandonment. Journal of the Academy of Marketing Science, 38(2), 240-250.

Lee, C.C., Klimm, C., Palmero, C., & Hughes, S. (2019). What factors influence people to abandon their online shopping carts? Paper presented at the Northeast Decision Sciences Institute 2019 Annual Conference, Philadelphia,PA on April 4-6, 2019.

Lian, J.-W., & Yen, D.C. (2014). Online shopping drivers and barriers for older adults : Age and gender differences. Computers in human behavior, 37, 133-143. E-commerce payments trends: Thailand thailand e-commerce insights. (2019) : J.P.MORGAN.

Novak, T.P., Hoffman, D.L., & Duhachek, A. (2003). The influence of goal‐directed and experiential activities on online flow experiences. Journal of consumer psychology, 13(1-2), 3-16.

Nunnally, J.C., & Bernstein, I.H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York : McGraw-Hill.

Rubin, D., Martins, C., Ilyuk, V., & Hildebrand, D. (2020). Online shopping cart abandonment : A consumer mindset perspective. Journal of Consumer Marketing, 37(5), 487-499. doi: 10.1108/JCM-01-2018-2510.

Sondhi, N. (2017). Segmenting & profiling the deflecting customer: Understanding shopping cart abandonment. Procedia computer science, 122, 392-399.

Southeast asia ecommerce outlook 2020. (2020) (T. Group Ed.) : TMO Group.

.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-03-2023