แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • ปุณฑริกา ปินพันธ์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • หัสชัย ตั้งมั้งมี วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
  • อรวรรณ จำพุฒ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุม ชน ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุม ชนตำบลนาครัวให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักมากขึ้นและเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า  และศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนของตำบลนาครัวเป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการ แบบมีส่วนร่ วม กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวจำนวน 200 คน ประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลนาครัว จำนวน 200 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน    โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณและการสัม ภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามความพึงพอใจและการมีส่วนร่ว มของประชาชน การสัมภาษณ์กลุ่มของผู้นำชุมชน  นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและการวิเคร าะห์ข้อมูลแนวการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลนาครัว             

          ผลการศึกษาพบว่าชุมชนตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีสภาพทั่วไปที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ความรู้ ภูมิปัญญาการแกะสลักไม้ที่งดงามเหมาะที่จะเป็นที่จำหน่ายผลงาน สินค้าการแกะสลักไม้ที่มีคุณภาพและแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการแกะสลักไม้ เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน เพราะมีสิ่งแวดล้อมที่งดงามทั้งแม่น้ำจาง วัดบ้านหลุกลานแสดงสินค้าการแกะสลักไม้ ขัวไม้มุงและประชาชนในชุมชนมีความเป็นกันเอง มีความรู้ ควา มสามารถแต่ยังขาดทักษะในเรื่องส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการตลาด ตำบลนาครัว อำ เภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง  มีความพร้อมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวภาย ในชุมชนกลับมาคึกคักอีกครั้งแต่ควรมีการสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ในการให้ความสำคัญของการท่องเที่ยวและกิจกรรมทางการท่องเที่ยวให้มีควา มน่าสนใจและดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวยังชุมชนมากขึ้นในด้านความสะดวกในการเดิ นทางควรมีป้ายบอกทางชัดเจนตั้งแต่ในตัวเมืองลำปาง ตลอดจนถึงชุมชนตำบลนาครัวและการจัดสายไฟให้อยู่ในระดับที่ความสูงของรถทัวร์เข้าถึงได้ และควรพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวให้สามารถเชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงได้

References

กุลวดี ละม้ายจีน. (2551). เอกสารประกอบการสอนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

โกวิทย์พวงงาม. (2545). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

ฉลองศรี พิมลสมพงศ การวางแผนและพัฒนาตลาดการทองเที่ยว. พิมพครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เทศบาลตำบลนาครัว.(2562). ข้อมูลทั่วปตำบลนาครัว. [ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก http://www.nakrow.go.th/html/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=1, (สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2562)

มัลลิกา ผลอนันต์.(2552). “PR แนวใหม่ ใส่ใจเรื่องความสัมพันธ์”. วารสารนักบริหาร, 31(1), 8-12.

วิรัช ลภิรัตนกุล.(2558). การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Buhalis, D.(2000). Strategic ues of information technologies in the tourism industry. Tourism Management. Essex : Pearson Education.

Scott M. Cutlip and Allen H. Center.(2000).The Unseen Power: Public Relations: A History. Mahwah. NJ : Lawrence Erlbaum Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023