การสร้างพื้นที่ท่องเที่ยวเกษตรนิเวศวัฒนธรรมโดยเครือข่ายชุมชนคน 2 ตำบล (พะวอ-ด่านแม่ละเมา) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์รัตน์ ศรีสมุทร วิทยาลัยชุมชนตาก

คำสำคัญ:

การสร้างพื้นที่ท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเกษตรนิเวศวัฒนธรรม, การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชนและพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายชุมชน 2) ค้นหาศักยภาพเกษตรนิเวศวัฒนธรรมโดยเครือข่ายชุมชน  3) สร้างพื้นที่ท่องเที่ยวเกษตรนิเวศวัฒนธรรมโดยเครือข่ายชุมชน  4) ค้นหาการบริหารจัดการท่องเที่ยวเกษตรนิเวศวัฒนธรรมโดยเครือข่ายชุมชนที่นำไปสู่การสร้างเสน่ห์ “อดีตร่วมสมัย” ของพื้นที่ และ  5) สร้างภาคีการท่องเที่ยว 2 ตำบล กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาCBT,ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ,    ผู้อาวุโส ผู้รู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลพะวอและตำบลด่านแม่ละเมา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างแบบสังเกต แบบสอบถาม    กึ่งทางการ แบบบันทึกภาคสนาม กล้องถ่ายรูป และเครื่องบันทึกเสียงการวิเคราะห์ข้อมูลใช้  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโวหาร และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการพรรณนาโวหารผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทชุมชนและพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายชุมชุมชนตำบลพะ  วอ ตำบลด่านแม่ละเมา เคยเป็นพื้นที่เดียวกันในอดีตชื่อตำบลพะวอเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในการสู่รบกับพม่า ปัจจุบันเป็นเมืองหน้าด่านทางเศรษฐกิจและแยกเขต  การปกครองออกเป็นตำบลด่านแม่ละเมา สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่ราบสูงตั้งอยู่  บนเทือกเขาถนนธงชัยอากาศเย็นสบายตลอดปีมีทะเลหมอก3ฤดูเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่จึงมีชนเผ่าต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งหลักปักฐาน ได้แก่ ปกาเกอะญอ ล้านนา มูเซอ ม้งกลายเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมภายหลังมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทำให้พื้นที่ตำบลพะวอ ตำบลด่านแม่ละเมาอยู่ในเขตอุทยาน 3 แห่งคือ อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช อุทยานแห่งชาติพาเจริญ และอุทยานแห่งชาติขุนเขาพะวอ 2)    ผลการค้นหาศักยภาพเกษตรนิเวศวัฒนธรรมโดยเครือข่ายชุมชนคน2 ตำบลพบว่าชุมชนบางกลุ่มเริ่มหันกลับมาทำการเกษตรแบบเดิม โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริและหันมาใช้การท่องเที่ยวเป็นทางรอดในการดำรงชีวิตอาศัยอยู่ร่วมกับป่า    และความเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ที่แตก    ต่างกันตามฤดูกาล 3) ผลการสร้างพื้นที่ท่องเที่ยวเกษตรนิเวศวัฒนธรรม พบว่าเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการประชุมเครือข่ายคน 2 ตำบลอัตลักษณ์ของพื้น     ที่คือ “4 ชาติพันธุ์วิถีผูกพันคนกับป่า”ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว คือ“วิถีชีวิตการเกษตร  ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่กับป่า  มีความเชื่อและวิถีวัฒนธรรมพึ่งป่าอยู่กับธรรมชาติ”      และกระบวนการสร้างพื้นที่เส้นทาง และกิจกรรมในการท่องเที่ยวเชื่อมโยงทรัพยากรที่      มีกับองค์ความรู้และวิถีถิ่นของชุมชน ที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นเป็นกิจกรรมเส้นทางการ   ท่องเที่ยวที่มีชุมชนเป็นฐาน 4) การบริหารจัดการท่องเที่ยวเกษตรนิเวศวัฒนธรรมโดยเครือข่ายชุมชนที่นำไปสู่การสร้างเสน่ห์  “อดีตร่วมสมัย” ของพื้นที่เกิดจากการที่ชุมชน  ร่วมกันคิดวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกเพื่อค้นหาจุดแข็งจุดอ่อนโอกาส   ข้อจำกัดของการบริหารจัดการท่องเที่ยวเกษตรพื้นที่เครือข่ายชุมชนคนของ  2  ตำบล    และจัดตั้งคณะกรรมการบริการจัดการกลุ่มจากการพัฒนาศักยภาพทำให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่นำไปสู่แนวทางรักษาเสน่ห์ “อดีตรวมสมัย”ด้วยการนำเอา      วิถีการดำรงชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม ภาษา  อาหารพื้นถิ่น  ภูมิปัญญาและเอกลักษณ์การ   แต่งกายที่สืบต่อกันใช้เป็นเสน่ห์ในการจัดการท่องเที่ยว   5) ปัจจัย เงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง       ในกระบวนการสร้างภาคีการท่องเที่ยว 2 ตำบล ได้แก่ ประชาชนในท้องถิ่น ภาครัฐภาคเอกชน  สถาบันการศึกษา   และการนำสื่อมวลชนมาเป็นภาคีเครือข่ายร่วมในการพัฒนาชุมชนใช้สื่อประสมประสาน  ในการประชาสัมพันธ์เพื่อเล่าเรื่องราว ข่าวสาร ในชุมชนให้     กับบุคคลภายนอกได้รับรู้ ส่งต่อและเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในพื้นที่เข้าด้วยกัน เป็นการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นซึ่งภาคีการท่องเที่ยว   2 ตำบล (พะวอ-ด่านแม่ละเมา) เกิดจากการสนับสนุนของภาคีภาครัฐภาคประชาชนและภาคเอกชนที่เข้ามาหนุนเสริม

References

บริษัท เว็บสวัสดี จำกัด (มหาชน). ชนเผ่าต่างๆ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562. เข้าถึงได้จาก http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/lahu.html.

พลอยศรี โปราณานนท์. (2544). การท่องเที่ยวเบื้องต้น. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.

ธเนศ ศรีสถิต และวรรณา คำปวนบุตร. (2556). การมีสวนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยว บนฐานเชิงนิเวศวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ตำบลพระธาตุอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สาระดีดี.คอม. 2561. องค์ประกอบของการท่องเที่ยว (Tourism Element). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.bit.ly/2RzenQg.

พจนา สวนศรี. 2546. คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-03-2023