ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, ปัจจัยส่วนประสมการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, สินค้าออนไลน์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก และ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นประชาชนที่ซื้อสินค้าออนไลน์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนผู้วิจัยจึงคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรโดยกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95%ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมรวบรวมเอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก ส่วนใหญ่มีจำนวนชั่วโมงในการเล่นอินเตอร์เน็ต 3 - 4 ชั่วโมง จำนวน 232 คน คิดเป็นร้อยละ 60.26 สถานที่ใช้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นบ้านหรือที่พักอาศัย จำนวน 207 คน คิดเป็ร้อยละ 53.77 โดยอุปกรณ์ในการเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตเป็นโทรศัพท์มือถือ จำนวน 276 คน คิดเป็นร้อยละ 71.69 และช่วงเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตตั้งแต่ 18.00 น. เป็นต้นไป จำนวน 135 คนคิดเป็นร้อยละ 35.07 ซึ่งช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์คือ เฟสบุ๊ค จำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 45.71 ส่วนใหญ่มีความถี่ในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ 4 - 5 ครั้งต่อเดือน จำนวน 160 คน คิดเป็นร้อยละ 41.56 จะมีวิธีการชำระเงินโดยโอนผ่านธนาคาร / ATM จำนวน 199 คน คิดเป็นร้อยละ 51.69 ประเภทสินค้าหรือบริการที่ซื้อส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย จำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 33.51 และส่วนใหญ่ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์คือตนเอง จำนวน 299 คน คิดเป็นร้อยละ 77.66 และ 2. ระดับความสำคัญปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก ในภาพรวมและรายด้านโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านราคาอยู่ในระดับมากที่สุดและด้านการ ส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
References
ชนนิกานต์ จุลมกร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื อสินคา้ผ่านอินเตอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรีคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. ปัญหาพิเศษ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทิวาวรรณ จันทร์เชื้อ. (2553). การศึกษาเชิงประจักษ์ของความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้าในการค้าทางอินเตอร์เน็ต. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธัญญพัสส์ เกตุประดิษฐ์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทางอินเทอร์เนตของผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระสาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
นพวรรณ มีสมบูรณ์. (2552). ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านการทำการตลาดออนไลน์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นุชจรินทร์ ชอบดำรงธรรม. (2553). อิทธิพลของสื่อโฆษณาในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อกระบวนการตอบสนองของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชามญชุ์ มะลิขาว. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสตรีผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ค. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มนัสวี ลิมปเสถียรกุล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการตัดสินใจของผู้บริโภคสินค้าออนไลน์ : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มวัยรุ่นเริ่มต้นทำงาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะพาณิชย ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรัญญา โพธิ์ไพรทอง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์.การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริเพ็ญ มโนศิลปากร. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กส์ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2559). เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive technologies). เข้าถึงได้จาก https://www.it24hrs.com/2016/disruptive-technologies-technology/ สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2561.
แสงเดือน ผ่องพุฒ. (2556). สื่อสังคมออนไลน์: แนวทางการน ามาประยุกต์ใช้. บทความวิชาการ 1– 17. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
อุษา ภูมิถาวร. (2551). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบมีร้านค้ากับร้านค้าปลีกทางอินเตอร์เน็ต. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.