ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 2

ผู้แต่ง

  • ปวีณา มูลกองศรี
  • วิไล พลพวก วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2    กลุ่มตัว อย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่  ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้   ได้แก่  แบบสอบถามเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูเป็นแบบมาตรวัดประมาณค่า  5 ระดับ  มีค่าความเชื่อมั่นเท่า กับ  0.84  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า   1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2)  ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ  3) ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 2 พบว่ามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.840)

References

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 10 ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิมใจ วิเศษ. (2554). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูอำเภอบ้านนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2546). จิตวิทยาการบริหาร หน่วยที่10. (เอกสารการสอน). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Gibbs, N. (1995). The E.Q. factor. Time, 2, 24-31. 1995, October.

Goleman, D. (1995) . Emotional intelligence : Why it can matter more than IQ. New York : Bantam Books.

Herzberg, F. Mausner , B & Snyderman,B. (1959). The motivation to work. (2 nd ed). New York : Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-02-2023