การเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ ธวัลรัตย์โภคิน มหาวิทยาลัยธนบุรี

คำสำคัญ:

การเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความรู้ความสามารถในมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความรู้ความสามารถในภาษีอากร    ที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   (3)      เพื่อศึกษาปัจจัยด้านความรู้ความสามารถในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน     (4) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านภาษาอังกฤษและภาษาอื่นในกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประ กอบวิชาชีพบัญชีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (5)  เพื่อศึกษาปัจจัยด้านจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประชา   คมเศรษฐกิจอาเซียน  (6) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีที่มี  ผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (7) เพื่อ    ศึกษาปัจจัยด้านความสามารถในการเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี   ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจาก 3 สายงาน ได้แก่        ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ผู้สอบบัญชีภาษีอากร และผู้ทำบัญชีในประเทศไทยการวิจัยครั้ง     นี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 ตัวอย่าง ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และหาค่าส่วน  เบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและใช้วิธีการทางสถิติแบบพรรณนาในการแปลผลและนำเสนอ 

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุมากกว่า 45 – 55 ปี มีอาชีพเป็นผู้ทำบัญชี ระดับการศึกษา ปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปีและมีรายได้ มากกว่า 20,000 บาท   โดยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี  ได้แก่  ด้านความรู้ความสามารถในมาตรฐานการรายงานทาง การเงิน  ด้านความรู้ความสามารถในภาษีอากรด้านจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี ด้านภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นในกลุ่มประเทศอาเซียน  ด้านความรู้ความสามารถในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   และด้านความสามารถในการเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคม  และวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน อยู่ในระดับมาก 

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี  มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการเพิ่มมูลค่าของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2561). การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใน 10 ประเทศอาเซียน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=26609. [Online 2018, October 28].

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2553). ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน คืออะไรและมีเป้าหมาย อย่างไร.(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://hq.prd.go.th/prTechnicalDM/ewt_news.php?nid=565. [ Online 2018,October 3].

ขนิษฐา นิลรัตนานนท์. (2559 1 เมษายน). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไทยเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาชีพบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.12(33), 25-39.

จรัสศรี โนมี. (2558 1 ตุลาคม). การศึกษาเปรียบเทียบข้อบังคับสาหรับนักวิชาชีพบัญชีระหว่างประเทศไทยกับประเทศเวียดนาม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 35(4),101-113.

ทักษ์ อุดมรัตน์. (2557 1 มกราคม). นโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ในประเทศอาเซียนบวกสาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(1), 127-139.

นรัญจ์ พุ่มศิริ. (2554). ผลกระทบจากการน ามาตรฐานการบัญชีและมาจรฐานการรายงานทางการเงินมาปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พัชรินทร์ ใจเย็นและคณะ. (2560 1 มกราคม). นักบัญชีกับเทคโนโลยียุคปัจจุบัน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก. 3(1), 196-207.

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2556). นักบัญชี. เข้าถึงได้จาก http://www.fap.or.th/index.phplay=show&ac=article&Id=539623210&Ntype=30.[Online 2018,October31].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-02-2023