ความรู้ความเข้าใจและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ

ผู้แต่ง

  • จักรชัย พิณเสนาะ
  • ชนิดา ยาระณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชนิดา ยาระณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความรู้ความเข้าใจ, สิทธิประโยชน์ทางภาษี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้ความเข้าใจและการใช้สิทธิประ โยชน์ทางภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประ กอบกิจการธุรกิจสตาร์ทอัพที่ได้รับรองจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยการศึกษาในครั้งนี้จะใช้วิธีวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative re search ) โดยการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมาทำการวิเคราะห์ ใช้กลุ่มตัวอย่างจำ นวน 5 ราย โดยทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง  จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพ มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสตาร์ทอัพแ ละได้ใช้สิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลออกให้เนื่องจากเป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่รายได้ที่ได้รับจึงยังไม่มากทำให้เข้าข่ายในเกณฑ์ที่ทางรัฐบาลได้กำหนดไว้จึงทำให้ได้รับการยกเว้นการเสี ยภาษีที่มีกำหนดให้ถึง 5 รอบระยะเวลาบัญชีสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับรองให้เป็นสตา ร์ทอัพแล้วจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

References

กรมประชาสัมพันธ์. (มิถุนายน 2559). การเพิ่มศักยภาพของสตาร์ทอัพ. จดหมายข่าวจากรัฐบาลเพื่อประชาชน. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2561, เข้าถึงได้จาก www.prd.go.th /download/article/article_20160527222254.

กรมสรรพากร. (สิงหาคม 2560). สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามมาตรการภาษีของรัฐบาล.สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2561, เข้าถึงจาก www.rd.go.th/publish/49125.0.html.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (พฤษภาคม 2559). Startup. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561, จากเข้าถึงได้จาก www.industry.go.th/ industry/index.php/th/knowledge/item/10604-startup.

ชัยวัฒน์ ใบไม้. (2560). สตาร์ทอัพ: นิยาม ความสำคัญ และแนวทางการทำวิจัย. วารสารนักบริหาร. 37(2),10-21.

ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี. (ตุลาคม 2561). รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ. วารสารเซทรู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561, เข้าถึงได้จาก www.set.or.th/education/th/ enterprise/ files/สตาร์ทอัพ_business_guide.

ทิบดี ทัฬหกรณ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). การสร้างผู้ประกอบการณ์รุ่นใหม่ในยุคไทยแลนด์ 4.0.วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 12(2).

ธนาคารกรุงไทย. (มีนาคม 2560). ความแตกต่าง SME และ สตาร์ทอัพ. สารวิจัยธุรกิจ.สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561, เข้าถึงได้จาก www.ktb.co.th/Download/ economyresources/EconomyResourcesDownload_424res0560.

พิศมัย หมอยาดี. (2557). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการช าระภาษีเงินได้นิติบุคคล ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บธ.ม., มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

วิไล พึ่งผล และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจผ่านความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจสตาร์ทอัพ. วารสารการจัดการวิทยาลัยดุสิตธานี 12(2).

ศาสตรา สุดสวาท และภาวิน ศิริประภานุกูล. (2561). รายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลแห่งประเทศไทย.วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 36(2).

เจษฎา สุขทิศ. (กรกฎาคม 2561). 4ทักษะที่ผู้ประกอบการ Startup & SME ต้องมี. กรุงเทพธุรกิจ.สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์,เข้าถึงได้จาก www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645143.

Joseph Rosenberg , Donald Marron. (2015). นโยบายภาษีและการลงทุนโดยการริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆ TAX POLICY CENTER.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-02-2023