ความสามารถในการทำกำไรจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กรณีศึกษาไร่อุทัย ตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ยุพิน มีใจเจริญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
  • สรินยา สุภัทรานนท์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ความสามารถในการทำกำไร, การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำกำไรของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กรณีศึกษาไร่อุทัย ตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการเก็บข้อมูล 1 ปี (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2561) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์อัตราส่วนทา งการเงินประกอบด้วย  กำไร (ขาดทุน)   อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย  อัตรากำไรสุทธิต่อเงินลงทุนและระยะเวลาคืนทุน พบว่าเกษตรกรมีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาก กว่า 20 ปีโดยใช้ที่ดินของตนเองจำนวน 50ไร่ ซึ่งเงินทุนส่วนใหญ่เป็นเงินทุนส่วนตัวร้อยละ 95 และมาจากการกู้ยืมกองทุนหมู่บ้านร้อยละ 5 สรุปผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลา 1 ปี ได้ผลผลิตเฉลี่ย 900 กิโลกรัมต่อไร่   มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,191 บาทต่อไร่ มีรายได้จากการจำหน่ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 7.570 บาทต่อไร่    จึงทำให้มีกำไรสุทธิเท่ากับ 5,379 บาทต่อไร่ อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร พบว่า อัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายคิดเป็นร้อยละ 71.06 อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนคิดเป็นร้อยละ 245.50 และมีระยะเวลาคืนทุ นประมาณ 5 เดือน    ดังนั้นเกษตรที่มีที่ดินเป็นของตนเองและมีความสนใจในการปลูกข้าว โพดเลี้ยงสัตว์จะเป็นอีกทางเลือกในการสร้างความสามารถในการทำกำไรได้เป็นอย่างดีนอ กจากนั้นอาจต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นประกอบด้วยเช่นประสบการณ์สภาพภูมิอากาศและนโย บายระดับประเทศ 

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตร.

ชุติมา คชวัฒน์ และคณะ. (2557). การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีการผลิต ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแห้งแล้ง. สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน 50 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. 1-21.

นุชจรี พิเชฐกุล. (2553). การรายงานการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มนวิกา ผดุงสิทธิ์. (2561). การบัญชีต้นทุน. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลำใย มากเจริญ. (2551). การบัญชีเพื่อการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2550). การบัญชีต้นทุน 2. กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.

สุมิตร วิลัยพร. (2018). ทดสอบการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์นครสวรรค์ 3 ในจังหวัดน่านและจังหวัดเชียงใหม่. Thai Agricultural Research Journal, 36(2), 163-172.

สำนักงานเกษตรจังหวัดตาก. (2560). ข้อมูลพื้นฐานเกษตรจังหวัดตาก ปี2560.(สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.tak.doae.go.th.

หนึ่งฤทัย ศรีธรราษฎร์ และคณะ. (2006). การประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมทนทานแล้งพันธุ์นครสวรรค์ 3. Thai Agricultural Research Journal, 35(3), 296-309.

อัจฉราภรณ์ ชัยนันทนาพร. (2014). ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. Payap University Journal, 24(2), 247-264.

อัศนีย์ เครือดวงคำ. (2557). ความสามารถในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยเพื่อทดแทนการนำเข้า. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-02-2023