ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจผักปลอดสารพิษ อำเภอเมืองจังหวัดตาก
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, ทัศนคติ, พฤติกรรมการบริโภค, ธุรกิจผักปลอดสารพิษบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจผักปลอดสารพิษ อำเภอเมืองจังหวัดตากมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษของผู้บริ โภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก 2)เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสอนใจซื้อผักปลอดสารพิษ และ 3) เพื่อศึกษาความความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสทางการตลาดของธุรกิจผักปลอดสารพิษในเขตอำเภอเมืองจังหวัดตากเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มประชาชนอำเภอเมืองจังหวัดตาก จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 26-30 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนรายได้ 5,001-10,000 บาท มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน พฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตาก ซื้อผักปลอดสารพิษ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ผักปลอดสารพิษประเภท กะหล่ำปลี มีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักปลอดสารพิษ 300-500 บาทต่อครั้ง เลือกซื้อผักปลอดสารพิษเพราะการดูแลสุขภาพ เหตุผลที่ตัดสินใจซื้อเนื่องจากความน่าเชื่อถือของธุรกิจผักปลอดสารพิษ ส่วนใหญ่โลตัส/บิ๊กซี และตัวเองมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซิ้อ ปัจจัยส่วนประสมทาการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษอยู่ในระดับปานกลาง อันดับแรกคือด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาด้านราคา และด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ ตามลำดับ มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจผักปลอดสารพิษอยู่ในระดับปานกลาง
References
ดารา ทีปะปาล. (2542). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพค์รั้งที่1).กรุงเทพมหานคร : รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17 ).นนทบุรี : บริษัทเอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์จำกัด.
ธิติมา เทียนไพร. (2550). พฤติกรรมการเลือกซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ปัญหาพิเศษบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ปราโมทย์ ยอดแก้ว. (2560). การพัฒนาการตลาดข้าวอินทรีย์ในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 5(1), 406-420.
พิบูล ทีปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.
พงศ์ หรดาล. (2540). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. ม.ป.ท.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร. (2559). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ศุภร เสรีรัตน์. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : เอ.อาร์. บิซิเนส เพรส.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control (14th Global ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
ชลธิชา ศิริสมบัติ. (2563). ความพึงพอใจในการบริโภคผักออร์แกนิคของผู้บริโภคชาวไทยในซุปเปอร์สโตร์ของจังหวัดปทุมธานี. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.mmm.ru.ac.th/mmm/is/vlt131/sec1/6014993006.pdf (วันที่ค้นข้อมูล 14 มกราคม 2563).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.