การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้, ทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการทดสอบประ สิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประเมินทักษะหลังกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยและประ เมินทักษะหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมการเรียนรู้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะ ห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้า งทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากการปฏิบัติงานระหว่างครูและนักเรียน มี 5 ขั้นตอน 1.ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engagement) จากทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต (Skill of living) 2.การกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายการทำ งาน (Objectives) 3. ขั้นเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น (Value) 4. ขั้นการลงมือปฏิบัติ (I mplement) 5. ขั้นการสะท้อนผล (Evaluation) และ 4) วัดผลประเมินผล
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของนักเรีย นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีประสิทธิภาพ 77.45/87.77 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชบา พันธุ์ศักดิ์. (2550). การพัฒนารูปแบบการสอนเชิงประสบการณ์และการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยการร่วมงานอย่างร่วมรู้สึกระหว่างผู้ปกครองและครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ค.ด.(การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย.(พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ : สุริยาสาส์น.
บรรพต แสนสุวรรณ. (2550). การพัฒนากิจกรรมการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหนองผือเทพนิมิตรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (ม.ป.ป.). “การคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด” เอกสาร ประกอบการนำเสนอแนวคิดและแนวทางเรื่องการคิดและการสอนเพื่อพัฒนา กระบวนการคิด. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
วิจารณ์ พานิช. (2554) วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สุปรียา ศิริพัฒนกุลขจร. (2555). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The 21st Century Learning).The NAS Magazine มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี. 2(1), (18-20).
Joyce, B., Weil, M. with Showers, B. (1992). Model of teaching. (4th ed). Needham Heights, MA: Allynand Bacon.
Joyce, B. and Weil, M. (1986). Models of Teaching. (3th ed). Englewood cliffs: Prentice Hall.
WHO. (1997). Life Skill Education for Children and Adolescents in School. Geneva: World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.