การเสริมสร้างภูมิความรู้ทางบัญชีเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้จ่ายตามแนวคิดหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาทางบัญชี, พฤติกรรมการใช้จ่าย, เยาวชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภูมิปัญญาทางบัญชี ปัจจัยแวดล้อม และพฤ ติกรรมการ ใช้จ่ายตามแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเยาวชนในเขตอำเภอบึง สามพันจังหวัดเพชรบูรณ์ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเยาวชนอยู่ในเขตอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีอายุระหว่าง 14-19 ปี จำนวน 359 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One-way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนในอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนใหญ่มีระดับภูมิ ปัญญาทางบัญชีในด้านการรับรู้ความสำคัญของการบัญชี ด้านทักษะปฏิบัติในการจดบันทึ กด้านทักษะการคิดและวิเคราะห์ตามหลักบัญชี และด้านการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับปานกลาง เช่น เดียวกับพฤติกรรมการใช้จ่ายตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือ ด้านความพอประมาณ รองลงมาคือ ด้านความมีภูมิคุ้มกันที่ดี และด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความมีเหตุผล ส่วนผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมการตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพี ยงของเยาวชนจำแนกตามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า เยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษา ต่างกัน ช่วงเวลาที่ได้รับเงินต่างกันและสถานที่พักขณะเรียนต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้จ่ายแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทั้งนี้ผลการวิจัยสามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะเพื่อก ารพัฒนา คือ สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับเยาวชนในการ เสริมสร้างความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายโดยยึดตามหลักป รัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
References
กรมการศาสนา. (2552). คู่มือการดำเนินงานเสริมสร้างศีลธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม.
กฤติพงค์ บุญรงค์. (2550). กระบวนการบริหารจัดการ ของผู้บริหารกับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนด้านความซื่อสัตย์สุจริต กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านตากแดด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
กิติมา ปรีดีดิลก. (2529). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้นกรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2560).ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564).
ชฎิล นิ่มนวล. (2552). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างคุณธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความภักดีต่อองค์กร. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชุติมา สังทรัพย์. (2559). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสุจริต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงลักษณ์ วิรัชชัย, และคณะ. (2551). การวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณธรรมจริยธรรมของคนไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์การส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).
นิยม บุญมีทองอยู่. (2556). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านข่าพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพันธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ประเวศ วะสี. (2550). ระบบการศึกษาที่คุณธรรมนำความรู้. นนทบุรี : โรงพิมพ์เจริญผล.
วันวิสาข์ ครองสิน. (2555). การพัฒนาเครื่องมือประเมินคุณลักษณะซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้และมุ่งมั่นในการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศักดิ์ดา แดงเถิน . (2555). การบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครูในสำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุจริต. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.