การพัฒนาระบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยรหัสคิวอาร์สำหรับกลุ่มสหกรณ์นครเชียงราย
คำสำคัญ:
การนำเสนอ, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, รหัสคิวอาร์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุม ชนสำหรับกลุ่มสหกรณ์นครเชียงราย ตามแผนงานวิจัย แนวทางการสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์นครเชียงราย จำกัด โดยได้ทำการศึกษารวบรวมปัญหาและความต้องการใช้งานใน ระบบงานในการนำเสนอรายละเอียดผลิตภัณฑ์ชุมชนและการส่งเสริมการตลาด ผ่านระบบ QR Code โดยการใช้โปรแกรม Microsoft Visual Studio ภาษาโปรแกรมมิ่ง ภาษา C# ในการพัฒนาระบบ และใช้งานคู่กับ Library QRCodeGenerator และจัดการฐานข้อมูลด้วย Microsoft SQL Server ซึ่งจะช่วยในการบริหารจัดการการนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มสหกรณ์นครเชียงราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวัดความพึงพอใจในการใช้งา นระบบ โดยทำการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการศึกษาและพัฒนาพบว่า การตอบแบบสอบถามของผู้ใช้งานทั้งหมด 22 คน สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ปรึกษา กลุ่มพนักงานประจำสหกรณ์ และกลุ่มตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ มาก โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 3.90 ซึ่งมีค่าแปลผลอยู่ในช่วง 3.50 – 4.49
จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าระบบการนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับกลุ่มสห กรณ์นครเชียงราย สามารถช่วยในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการตลาดผ่านระบบ QR Code และทำให้การจัดเก็บข้อมูลของสหกรณ์มี ประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้อง การของผู้ใช้งานระบบ
References
ขวัญจุฑา คำบรรลือและคณะ. (2560). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกำแพงเพชร.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร .19(1) มกราคม – มีนาคม 2560.
จุฑารัตน์ โถชัย และณัฐวี อุตกฤษฏ์. (2558). ระบบจัดการครุภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดบนแอนดรอยด์โฟน. The Eleventh National Conference on Computing and Information Technology. NCCIT2015.
ชัยนันท์ นันทพันธ์. (2528). ประชาสัมพันธ์อย่างไรจึงได้ผล. บพิธการพิมพ์: กรุงเทพฯ.
ณัฐพัชร์ อภิรุ่งเรืองสกุล และประสพชัย พสุนนท์. (2561). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ ประจำเดือน.
นราธิป ปุณเกษม และจันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา. (2561). การพัฒนาสื่อต้นแบบนำเสนอข้อมูลอาหาร : ผลิตภัณฑ์จากโฮมเบเกอรี่.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.tci-thaijo.org/index.php/sduhs/article/view/186351/130942. (พฤษภาคม 2561-กรกฎาคม 2561).
ปรมะ สตะเวทิน. (2541). การสื่อสารมวลชน : กระบวนการและทฤษฎี. ภาพพิมพ์: กรุงเทพฯ.
ไพรรินทร์ ยานะ. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวของสวนสัตว์เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. เชียงใหม่.
สุธาทิพย์ นิธิสิริพงศ์. (2558). อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการใช้แอปพลิเคชันสแกนรหัสคิวอาร์ซื้อสินค้าจากร้านค้าเสมือน. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ) สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิจิตร. (2561). หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์(OTOP). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://phichit.cdd.go.th/.(วันที่ค้นข้อมูล 30 กรกฎาคม 2561).
ออฟฟิศแมนเนอร์. (2558). ความหมายของรหัสคิวอาร์โค้ด.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://officemanner.com/2014/07/23/qr-code%. (วันที่สืบค้น 1 มิถุนายน 2561).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.