ผลของ"หลักนิติธรรมแบบไทย" ต่อระบบกฎหมายและการเมืองภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549
คำสำคัญ:
หลักนิติธรรม, กฎหมาย, การรัฐประหารบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเรื่อง " ผลของ หลักนิติธรรมแบบไทย "ต่อระบบกฎหมายและการเมืองภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณ ภาพเป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยทำการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสารบทความ วารสาร รวมไปถึงวิเคราะห์ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ นอก จากนี้ยังมีการสัมภาษณ์ใกล้ชิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องเหตุการณ์ และผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในประ เด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้ อง เครื่องมือการวิจัย คือ กำหนดประเด็นคำถามที่มีการยึดโยงกับวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประเด็นคำถามที่เด่นชัดและอยู่ในกรอบของกระบวนการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณ นา ผลการวิจัยพบว่า
(1) รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายนั้นไม่สอดคล้องกับจารีตกฎหมายของไทยจึงถูกทำ ลายได้ง่ายทั้งที่เป็นกฎหมายสูงสุด
(2) การผลักดันให้สถาบันชนชั้นนำเป็นอำนาจหนึ่งในระบบการเมืองไทย โดยเป็นเบื้องบนของสถาบันการเมืองอื่นๆ อำนาจนำเหล่านี้เพิ่มพูนมากขึ้นไปอีกในปัจจุบัน คำว่า ‘เหนือการเมือง’ ตามหลักนิติศาสตร์แบบไทยไม่ใช่อยู่พ้นหรือไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกต่อไป แต่หมายถึงอำนาจของชนชั้นนำที่จะแทรกแซงการเมืองได้
(3) หลักนิติธรรม The Rule of Law ในนิติศาสตร์แบบไทย สถานะขององค์อธิปัตย์ (The Sovereign) ที่อยู่เหนือรัฐธรรมนูญและเป็นเบื้องบนเหนือระบบการเมืองทั้งหลาย จะถือว่าอยู่ใต้กฎหมายหรืออยู่เหนือกฎหมาย ถ้าหากกล่าวตามหลักการของ Legal State แล ะ The Rule of Law ที่ว่ากฎหมายต้องเป็นใหญ่สุด ใครหรือกลไกใดทำหน้าที่ตรวจสอบอำนาจของชนชั้นนำภายใต้นิติศาสตร์แบบไทย อาจจะถูกกล่าวหาว่าเป็นการคิดร้ายต่อรัฐ
ข้อเสนอแนะ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาถึง ผลของ "หลักนิติธรรมแบบไทย"ต่อระบ บกฎหมายและการเมืองภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 ในประเด็นสำคัญเพียง 3 ประเด็ นในข้างต้นทำให้เชื่อว่ายังมีประเด็นที่น่าสนใจหลงเหลือที่ยังไม่ได้รับการศึกษาอีกหลายป ระเด็นด้วยกัน ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลแบบปฐมภูมิ ซึ่งอาจจะยังขาดข้อมูลเชิงลึกได้
References
ธงชัย วินิจจะกุล. (2561). เมื่อสยามพลิกฝัน: ฟ้าเดียวกัน. กรุงเทพฯ.
ธงชัย วินิจจะกุล. (2563). ปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ้งภากรณ์ ครั้งที่17 เรื่องนิติรัฐอภิสิทธิ์ ราชนิติธรรม ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา rule by law 9 มีนาคม 2563 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต.
ประมุข บัณฑุกุล และศิวัช ศรีโภคางกุล. (2560). บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปิยบุตร แสงกนกกุล. (2562). ศาลรัฐประหาร : ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร. ฟ้าเดียวกัน. กรุงเทพฯ.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2558). ด้วยกฎหมายและอุดมการณ์.กรุงเทพฯ.shine publishing.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2563). ความเห็นต่อกรณียุบพรรคอนาคตใหม่และการรณรงค์แก้ไขรัฐธรรมนูญ.กรุงเทพ : มติชน.
Ran Hirschl, "The New Constitution and the Judicialization of Pure Politics Worldwide,"Fordham Law Review 75, 2 (2006) : 721-53; Ran Hirschl, The Judicialization of Mega-Politics and the Rise of Political Courts," Annual Review of Political science 11 (2008) :93-118.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.