การถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทอผ้าไหม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
วิธีการอนุรักษ์, การทอผ้าไหม, การถ่ายทอดความรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ 1)ศึกษาเทคนิคการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษากระบวนการผลิตผ้าไหมเพื่อพัฒนาเป็นสินค้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมให้เป็นมรดกของชุมชนสืบไป กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ครั้งนี้ คือ ประ ธานกลุ่มทอผ้าไหม ปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ สมาชิกในกลุ่มทอผ้าไหม จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสังเกต แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. เทคนิคการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหม อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมามีวิธีการถ่ายทอดได้หลายทางโดยใช้เทคนิคการสาธิต การปฏิบัติจริง การบอกเล่า เพื่อให้ปฏิบัติตามโดยการทำให้ดูพร้อมทั้งการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน มีวิธีการเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดจากการลงมือทำ การลองผิดลองถูก ซึ่งกระบวนการเรียนรู้นี้เป็นพลวัตร จนเกิดกา รสั่งสมและพัฒนาความรู้การทอผ้าไหมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแต่ละวิธีขึ้นอยู่กับองค์ความรู้และกลุ่มเป้าหมายที่จะรับการถ่ายทอด
2. กระบวนการผลิตผ้าไหม แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน คือ การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม กา รทำเส้นใย การมัดหมี่การย้อมหมี่และการทอผ้าไหม ส่วนการพัฒนาผ้าไหมให้เป็นสินค้ามา ตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มีกระบวนการพัฒนา 5 ประการ คือ 1) มีการพัฒนาบุคคลด้านการเรียนรู้โดยวิธีกระบวนการกลุ่ม 2) การพัฒนาเครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์ในการผลิต 3) การพัฒ นาผลิตภัณฑ์และคุณภาพของเส้นไหม 4) การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณ ภาพ 5) การพัฒนาการตลาดเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาพื้นบ้านในเชิงธุรกิจ
3. แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมให้เป็นมรดกของชุมชน พบว่า 1) ควรมีการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเพื่อส่งเสริมกลุ่มทอผ้าไหมให้มีความยั่งยืนและควรมีการสนับสนุนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 2) การจัดหลักสูตรการทอผ้าให้กับสถาบันการศึกษาเพื่อให้สถาบันที่เกี่ยวข้องช่วยสืบสานและสืบทอดเพื่อบรรจุเป็นหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอน 3) ควรส่งเสริมการบันทึกลวดลายผ้าไหม เพื่อเป็นหลักฐานและถ่ายทอดภูมิ ปัญญาอันล้ำค่าของบรรพบุรุษ
References
ขนิษฐา ดำพลงาม. (2555). การพัฒนาเครื่องแต่งกายสตรีเชิงพาณิชย์จังหวัดมหาสารคาม.ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ดวงฤทัย อรรคแสง. (2552). กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาการจัดการ. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีรพงษ์ วสัตดิลก. (2546). รูปแบบการพัฒนาตลาดผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมจังหวัดบุรีรัมย์สู่ระบบพาณิชย์อิเล็กทอนิค. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต บุรีรัมย์: สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.
นภาภรณ์ หะวานนท์ และพิสมัย รัตนโรจน์สกุล. (2548). การเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
นิตยา ฉัตรเมืองปัก. (2555). การวิเคราะห์ผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอนาโพธิ์จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ (กศม. ศิลปศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ระวีวรรณ กิจโรจน์สกุล. (2557). ผ้าไหมหางกระรอก : การอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เรืองเดช ปันเขี่ยนขัตย์. (2542). นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ลออ ไชยโยธา. (2551). ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมชุมชน ตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ศศ.ม. ศรีสะเกษ : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ศีมาศ ประทีปะวณิช. (2561). การศึกษากระบวนการผลิตผ้าไหมมัดหมี่ กรณีศึกษา พื้นที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่20 ฉบับที่ 1 (39).146-157.
สรังสี แก้วพิจิตร. (2551). ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการผลิตผ้าไหมปักธงชัยเพื่อพัฒนาเป็นสินค้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. วิทยานิพนธ์ศศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุนทร สุขไทย. (2549). รายงานการวิจัยเชิงคุณภาพ การสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชน ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. อุตรดิตถ์: คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
เสรี พงษ์พิศ. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนา (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : มูลนิธิภูมิปัญา.
สมโชค เฉตระการ. (2552). แนวทางการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศของการพัฒนาอาชีพทอผ้าไหมตามโครงการหนึ่งต้าบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฏีนิพนธ์ สาขาอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2537). ผ้าไทย. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
Goodkind, H. M. (1998). “Transferring Learning Building Organizational Capacity form Within. International Dissertation Abstract. In UMI Co. 1998. University of Oregon.AAC 9738711.
Choi, S.H. and H.H. Cheung. (2007) .“Multi-material Virtual Prototyping for Product Development and Biomedical Engineering,” Computers in Industry. 58(5). 438-452.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.