ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดแพร่

Main Article Content

สมบัติ กันบุตร
น้ำฝน รักประยูร
ลักขณา พันธุ์แสนศรี
วิลาสินี บุญธรรม
พัชรณัฐ ดาวดึงษ์
กษมา ถาอ้าย
นิธิโชติ ชาเทพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของผู้บริโภคผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการซื้อผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดแพร่ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางด้านการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดแพร่ โดยมีเครื่องมือ ในการใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 96 ชุด เก็บข้อมูลจากประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่ อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้การสุ่มเก็บข้อมูลตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เพื่อหาจำนวนและตัวแปรตาม (Dependent Variable) เพื่ออธิบายความถี่ (Frequency) หาร้อยละ (Percentage) หาความสัมพันธ์ (Pearson correlation)


จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการเลือกซื้อผักและ ผลไม้เกษตรอินทรีย์ของจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 96 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 83.30 มีช่วงอายุ 31 - 40 ปี จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 49.00 มีสถานภาพสมรส จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 66.70 มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 71.90 ประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงาน จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 54.20 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 และ ด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยของการเลือกซื้อผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ อยู่ในระดับความสำคัญมาก (ค่าเฉลี่ย 4.28) ด้านราคา มีค่าเฉลี่ยของการเลือกซื้อผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ อยู่ในระดับความสำคัญมาก (ค่าเฉลี่ย 4.02) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยของการเลือกซื้อผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ อยู่ในระดับความสำคัญมาก (ค่าเฉลี่ย 4.33) ด้านการส่งเสริมการตลาด ค่าเฉลี่ยของการเลือกซื้อผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.61)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร นาคชาตรี. (2554). พฤติกรรมการซื้อผักและผลไม้ปลอดสารพิษจากร้านโกลเด้นเพลสของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

กมลศรี ศรีวัฒน์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าอินทรีย์ของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

กิ่งพร ทองใบ และนุชนาฎ รามสมภพ. (2559). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ขวัญกมล ดอนขวา (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อผักปลอดสารพิษในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(3), 81-93.

ณัฐธีร์ ศิวเดชเดชเจริญวงษ์ (2555). พฤติกรรมการเลือกซื้อผักและผลไม้อินทรีย์จากร้านมูลนิธิโครงการหลวง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ปิยทัศน์ พริ้มทองตระกูล (2557). พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อและบริโภคผักเกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่. (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิลันธนา แป้นปลื้ม และมณฑิชา พุทซาคา. (2557). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

พรรณรี สุรินทร์. (2559). ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลไม้ออร์แกนิคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ภานุวัฒน์ ก้อนทรัพย์.(2557). ความต้องการของผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายตลาดนัดผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ลัดดาวัลย์ โชคถาวร และขวัญกมล ดอนขวา. (2560). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดและทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. 5(1), 79-91.

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). การบริโภคผัก. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2562, จาก http://www.inmu.mahidol.ac.th/th/

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร. (2562). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.oae.go.th

เสาวคนธ์ ศรีบริกิจ. (2560). สถานการณ์เกษตรอินทรีย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

Kotler, P. (2000). Marketing Management: analysis, planning, implementation and control. 9th ed. Upper Subble River. N.J: Prentice Hall Intenational.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.