จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความในวารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน “Academic Journal of Sustainable Habitat Development (AJ-SHaDa)” มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่สอดคล้องกับศาสตร์พระราชาหรือนโยบายการพัฒนาของภาครัฐครอบคลุมสาขาต่าง ๆ ได้แก่ สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, การบริหารจัดการ,การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, การพัฒนาท้องถิ่น, ภูมิสังคมและนิเวศวิทยา, รัฐศาสตร์, รัฐประศาสนศาสตร์ รวมถึงสหวิชาการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่บทความบทความวิจัยและความวิชาการให้แก่คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป เปิดรับบทความภาษาไทยและอังกฤษ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 2 ท่าน ทั้งนี้เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทางวารสารจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติและจริยธรรมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความสำหรับการดำเนินงานของวารสาร ดังนี้
บทบาทและหน้าที่ของผู้เขียนบทความ
1. ผู้เขียนบทความจะต้องไม่ส่งบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่ส่งต้นฉบับบทความซ้ำซ้อนกับวารสารอื่น
2. ผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย จะต้องไม่ละเมิดสิขสิทธิ์หรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ทางวารสารได้กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงาน โดยใช้โปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo โดยทางวารสารได้กำหนดค่าไว้ในระดับไม่เกิน 25%
3. ผู้เขียนต้องยึดรูปแบบการเขียนบทความตามรูปแบบวารสารในหัวข้อ “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน” อันจะนำไปสู่บทความที่มีรูปแบบการตีพิมพ์ที่ได้มาตรฐานเดียวกัน
4. ผู้เขียนจะต้องอ้างอิงผลงาน ภาพ หรือตาราง หากมีการนำมาใช้ในบทความของตนเอง โดยให้ระบุ “ที่มา” เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ (หากมีการฟ้องร้องจะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ทางวารสารจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น)
5. ผู้เขียนบทความต้องปรับแก้ไขผลงานตามคำแนะนำหรือตามผลการประเมินบทความจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น หากไม่แก้ไขตามคำแนะนำทางวารสารจะขอสงวนสิทธิ์ไม่ตีพิมพ์บทความของท่าน
6. ผู้เขียนต้องนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัย/รวบรวมข้อมูล โดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ และปราศจากอคติในทุกขั้นตอนการทำวิจัย
7. ผู้เขียนจะต้องระบุชื่อแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนในการทำวิจัย (ถ้ามี) และจะต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
8. ผู้เขียนจะต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ผลงาน ที่นำมาใช้ประกอบการเขียนบทความ อย่างถูกต้อง ครบถ้วนทั้งการอ้างอิงในเนื้อหา (Citation in-text) และรายการเอกสารอ้างอิง (Reference) ท้ายบทความ ตามหลักการอ้างอิงผลงาน (วารสารสันติสุขปริทรรศน์ ใช้ระบบ APA 6)
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมถึงตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์
2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องกำกับติดตามดูแล และดำเนินการอย่างเหมาะสมกับผู้นิพนธ์หรือบทความที่ตรวจพบว่ามีการกระทำผิดด้านจริยธรรม/จรรยาบรรณ เช่น การละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ทางวารสารได้กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงาน โดยใช้โปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ได้กำหนดค่าไว้ในระดับ ไม่เกิน 25%
3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินบทความ ซึ่งวารสารได้กำหนดในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed)
5. บรรณาธิการจะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน และผู้ประเมิน โดยเด็ดขาด เพื่อรักษาไว้ซึ่งธรรมาภิบาลในการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด
6. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการจะต้องพิจารณาบทความโดยใช้หลักการทางวิชาการ ปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้เขียน ทั้งในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้เขียน
7. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด และพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกระบวนการบริหารจัดการวารสารให้มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
8. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญตรงกับสาขาของบทความ เพื่อทำหน้าที่ประเมินคุณภาพของบทความ ในกรณีที่เห็นสมควรให้นำบทความนั้นเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคุณภาพบทความ
9. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง และให้ผลที่น่าเชื่อถือ โดยนำผลของการวิจัยมาเป็นตัวชี้นำว่า สมควรตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ รวมถึงหลังจากที่พิจารณาประเมินบทความเสร็จแล้ว
2. ผู้ประเมินบทความต้องตระหนักว่าตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับการประเมินอย่างแท้จริง ถ้าหากบทความส่งไปประเมินผู้ประเมินบทความไม่มีความเชี่ยวชาญ ควรแจ้งกองบรรณาธิการหรือปฏิเสธบทความนั้น รวมทั้งต้องรักษาระยะเวลาการประเมินตามกรอบเวลาที่ทางวารสารกำหนดไว้
3. ผู้ประเมินบทความไม่นำเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งที่ตนเองประเมินมาเป็นผลงานของตนเองโดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของบทความหรือจากวารสาร
4. ผู้ประเมินต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความ พิจารณาบทความภายใต้หลักการทางวิชาการ โดยปราศจากอคติหรือความลำเอียงต่อบทความ ทั้งในด้านเชื้อชาติ ศาสนา เพศ วัฒนธรรม การเมือง อุดมคติ สังกัดของผู้เขียน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน
5. หากผู้ประเมินบทความพบว่า ข้อความ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความมีความเหมือน หรือคัดลอกมาจากผลงานอื่น ผู้ประเมินบทความจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที