แบบฟอร์มลงทะเบียนเพื่อเสนอตีพิมพ์บทความ

                                                      คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

                                    รูปแบบการเขียนบทความวิจัย (Research Article)

                                    รูปแบบการเขียนบทความวิชาการ (Academic Article)

                                    รูปแบบการเขียนบทความปริทรรศน์ (Review Article)

                                    รูปแบบการเขียนบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)

 

รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ

          ผู้นิพนธ์ที่ส่งบทความมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้นิพนธ์บทความจะต้องยินยอมและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ รูปแบบ ขั้นตอนการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ บทความวิจารณ์หนังสือ เพื่อตีพิมพ์ในวารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงในเนื้อหาและอ้างอิงในท้ายบทความ ต้องเป็นตามหลักเกณฑ์ของวารสารในรูปแบบของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตาม APA Style 6th edition ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฎในบทความวารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกรองบรรณาธิการ รวมทั้งผู้นิพนธ์จะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำซ้อนของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCatct ในระบบของ Thaijo ไม่เกิน 25% ผู้นิพนธ์ประสงค์จะตีพิมพ์บทความต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของวารสารดังนี้
          1. ผู้เขียนต้องศึกษารูปแบบและตรวจสอบการเขียนบทความให้ตรงตามรูปแบบของวารสาร
          2. ต้นฉบับบทความต้องเป็นไฟล์เวิร์ด (Microsoft word) เท่านั้น
          3. กระดาษ A4 มีความยาวระหว่าง 10-15 หน้า (รวมหน้าเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว โดยใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun PSK ขนาดอักษร 16 pt. ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบกระดาษ ขอบบน – ล่าง ขอบขวา - ซ้าย เท่ากันทุกด้าน ด้านละ 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และย่อหน้า 7 เคาะ
          4. การนำเสนอรูปภาพและตารางต้องมีความชัดเจนและชื่อกำกับใต้ภาพไว้ด้านล้าง พิมพ์เป็นตัวธรรมดา ขนาด 14 pt. เช่น ตารางที่ หรือ Table และภาพ หรือ Figure และโมเดล หรือ Model รูปภาพที่นำเสนอต้องมีคำอธิบายรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้ ซึ่งเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับโดยต้องมีคำอธิบายกระซับและสอดคล้องกับรูปที่นำเสนอ
          5. ชื่อเรื่อง ต้องมีภาษาไทย (TH Sarabun PSK ขนาด 20 pt. ตัวหนา) และภาษาอังกฤษ (TH Sarabun PSK ขนาด 18 pt. ตัวหนา) พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง
          6. ชื่อผู้นิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (16 pt.) ไม่ต้องระบุตำแหน่งทางวิชาการ คำนำหน้า นาย/นาง/นางสาว/ยศตำแหน่ง (ยกเว้นกรณีเป็นพระภิกษุ) พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติอยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบขวา และใช้ตัวเลขยกกำกับหน้าชื่อผู้เขียนแสดงชื่อหน่วยงาน กรณีมีผู้ร่วมเขียน 2 คนขึ้นไป สังกัดสถาบันเดียวกัน ให้แสดงเพียง 1 หมายเลขเท่านั้น แต่หากผู้ร่วมเขียนมาจากหลายสถาบันให้ระบุหมายเลขยกกำกับ หน้าชื่อ 1 2 3 ตามลำดับ  
          7. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 350 คำ 
          8. กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 3 -5 คำ
          9. การใช้ตัวเลขต้องใช้ตัวเลขอารบิกเท่านั้น
          สามารถส่งบทความเข้าระบบ ThaiJo ในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของวารสารภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ที่ https://so09.tci-thaijo.org/index.php/AJ-SHaDa
 

ส่วนการเตรียมต้นฉบับในบทความมีเนื้อหาแต่ละประเภทมีการเรียงลำดับ ดังนี้ 

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับ ดังนี้

          1. ชื่อเรื่องบทความ (Title) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ                                                                                    2. บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์การวิจัย ประเภทของงานวิจัย การระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัยและองค์ความรู้จากการวิจัย โดยสรุปให้สั้นและกระชับความ
          3. บทนำ (Introduction) ระบุเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหา 
          4. วัตถุประสงค์การวิจัย (Research Objectives) ระบุวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับข้อ
          5. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ระบุแผนการวิจัย กลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
          6. สรุปผลการวิจัย (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิก็ได้
          7. อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด พร้อมระบุองค์ความรู้จากการวิจัย
          8. องค์ความรู้ใหม่  (New Knowledge) เป็นนำเสนอผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากงานวิจัย สามารถนำเสนอรูปแบบของการเขียนความเรียง หรือโมเดลพร้อมคำอธิบายที่กระชับ เข้าใจง่าย
          9. สรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and suggestion ) ระบุข้อสรุปที่สำคัญและข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้และประเด็นสำหรับการวิจัยต่อไป
          10. เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงในเนื้อหาบทความเท่านั้น โดยใช้การอ้างอิงระบบ APA
 

บทความวิชาการ ให้เรียงลำดับ ดังนี้ 

          1. ชื่อเรื่องบทความ (Title) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ                                                                                    2. บทคัดย่อ (Abstract)  
          3. บทนำ (Introduction)
          4. เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับและระบุองค์ความรู้ใหม่
          5. สรุป (Conclusion)
          6. องค์ความรู้ใหม่ (New Knowledge)
          7. เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA
 

บทความปริทรรศน์ (Review Article) ให้เรียงลำดับ ดังนี้  

          1. ชื่อเรื่องบทความ (Title) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ                                                                                    2. บทคัดย่อ (Abstract)
          3. บทนำ (Introduction)
          4. เนื้อเรื่อง (Content)
          5. บทวิจารณ์ (Discussion)
          6. สรุป (Conclusion)
          7. องค์ความรู้ใหม่ (New Knowledge)
          8. เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA
 

บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ให้เรียงลำดับ ดังนี้

          1. ชื่อบทวิจารณ์หนังสือ เขียนโดย, สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์, จำนวนหน้า อย่างชัดเจน                                              2. บทนำ (Introduction)
          3. เนื้อหา (Content)
          4. บทวิจารณ์ (Discussion)
          5. สรุป (Conclusion)
          6. เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ APA 
 

การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ตามหลักเกณฑ์ APA

 
หมายเหตุ:          1. ผู้แต่งชาวไทยให้ใส่ชื่อและนามสกุล โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ ยกเว้นราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ ให้นำไปใส่ท้ายชื่อ โดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อกับราชทินนามและฐานนันดรศักดิ์ ส่วนสมณศักดิ์ให้คงรูปตามเดิม
                       2. กรณีผู้แต่ง 2 คน ให้ใส่ชื่อทั้งสองคนตามลำดับที่ปรากฏ เชื่อมด้วยคำว่า “และ” สำหรับเอกสารภาษาไทย และใช้เครื่องหมาย “&” สำหรับเอกสารภาษาต่างประเทศ ระหว่างคนที่ 1 และคนที่ 2 โดยเว้น 1 ระยะก่อนและหลัง
                       3. ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นด้วยชื่อสกุล ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น โดยเว้น 1 ระยะ และอักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี) ทั้งนี้การกลับชื่อสกุลให้ใช้ตามความนิยมของคนในชาตินั้น โดยใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างชื่อสกุลและอักษรย่อชื่อต้น อักษรย่อชื่อกลาง หากกรณีที่ผู้แต่งมีคำต่อท้าย เช่น Jr. หรือคำอื่น ๆ ให้ใส่คำดังกล่าวต่อท้ายอักษรย่อชื่อต้น หรือ อักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี) โดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาพ
                       4. ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน ให้ลงรายการโดยเรียงลำดับจากหน่วยงานใหญ่ไปหาหน่วยงานย่อย และเว้นวรรคจากชื่อหน่วยงานใหญ่ไปหาชื่อหน่วยงานย่อย
                       สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับ APA Style 6th edition เช่น APA Formatting and Style Guide. From http://owl.english.purdue.edu /owl/resource/560/01/American Psychological Association (APA) 6th edition style Examples. From www.lib.monash.edu.au/tutorials/citing/ apa-a4.pdf
 
                       วิธีเรียงอ้างอิง การเรียงอ้างอิงใช้หลักการเดียวกับการเรียงคำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือ Dictionary ที่เป็นสากล โดยคำที่มีสะกดจัดเรียงไว้ก่อนคำที่มีรูปสระตามลำดับตั้งแต่ กก - กฮ ดังนี้
                       ก ข ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ฤา ล ฦ ฦา ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ
                       ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะตัวเดียวกัน เรียงลำดับตามรูปสระ ดังนี้
                       อะ อัว อัวะ อา อำ อิ อี อื อุ อู เอะ เอ เอาะ เอา เอิน เอีย เอียะ เอือ เอือะ แอ แอะ โอ โอะ ใอ ไอ