พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานของเทศบาลตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วีรวัฒน์ ภูเลื่อน
นพดณ ปัญญาวีรทัต
อภิรมย์ สีดาคำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 กับการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ในเทศบาลตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติเช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรอยู่ในระดับมาก 2) มีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกันระหว่างการประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 และการพัฒนาสมรรถนะ (R=.955) ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 1. ฉันทะ การกำหนดเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจน 2. วิริยะ ความพยายามและแรงบันดาลใจในการทำงาน 3. จิตตะ การเอาใจใส่และสมาธิในการทำงาน 4. วิมังสา การใช้วิจารณญาณและความรอบคอบในการปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกนุช นิยนันท์, สุริยา รักษาเมือง และพงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์. (2567). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 7(3), 1-13

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชนจำกัด.

จิรวัฒน์ รจนาวรรณ. (2546). ปฏิรูปการเมืองและระบบราชการ. กรุงเทพฯ: พึ่งตน.

จิรัตติกาล สุขสิงห์. (2565). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในองค์กร. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 5(1), 211-219

ช่อลดา ห้วงน้ำ. (2545). การสร้างจิตสำนึกของการให้บริการภาครัฐ (ผลงานลำดับที่ 2). ประจวบคีรีขันธ์: สำนักงานจัดหางานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: พิฆเนศพริ้นติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2560). ศัพท์รัฐประศาสนศาตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แทนพันธุ์ โกสุวินทร์ และกฤษฎิ์กิตติฐานัส. (2567). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 5(1), 30-43.

ผกาสรณ์ ศรีสว่างวงศ์ และอาริยา ป้องศิร. (2567). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลตำบลนาจารย์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 13(1), 187-205.

พระปลัดสถิตย์ โพธิญาโณ. (2567).การพัฒนาคุณภาพชีวิตการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 7(5), 153-166.

พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม. (2564).การพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานเทศบาลตามหลักอิทธิบาท 4. วารสาร มจร เลย ปริทัศน์, 2(2), 213-219.

พระอุทัย จารุธมฺโม (แก่นจำปา). (2564). การพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรี อยุธยา.

สมคิด บางโม. (2561). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York: Harper & Row.