ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วรวิทย์ นพแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน t-test F-test


ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการแบ่งปันผลประโยชน์ และด้านการติดตามและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ประกอบด้วย 1.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ผู้นำชุมชน 3. ความช่วยเหลือจากภายนอก 4. ตระหนักถึงผลประโยชน์ 5. ความรู้ความเข้าใจในการบริหารการจัดการ ซึ่งมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้นำชุมชนควรที่จะให้ความสำคัญกับสร้างความพร้อมของชุมชนและความผูกพันให้กับสมาชิกในชุมชนที่จะผลักดันให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าและผลประโยชน์ของส่วนรวมที่จะได้รับ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้ามาช่วยกันทำงานเพื่อชุมชนทำให้การท่องเที่ยวของชุมชนประสบความสำเร็จโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติภัฏ ฐิโณทัย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

โชติ บดีรัฐ. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของภาคประชาชนในเขตพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20(1), 147-158.

ดาวรุ่ง โสฬส, ประเสริฐ ปอนถิ่น และอภิรมย์สีดาคำ. (2566). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาครัฐและประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4(1), 65-78.

ปิ่นฤทัย คงทอง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(2), 1-32.

ปิยธิดา ปาลรังสี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

พิมพิกา นวนจา. (2562). ภาคีเครือข่าย การจัดการท่องเที่ยวของหมู่บ้านแม่กำปอง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และคณะ. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์.

วีระพล ทอง. (2559). แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในเขตที่ดินป่าไม้. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุดเขต สกุลทอง. (2566). บทบาทภาวะผู้นำชุมชนท้องถิ่นกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 4(1) , 91-102.

สุธราทิพย์ เข็มน้อย. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา: ตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. (การค้นคว้าอิสระศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว. (2564). สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2565, จาก https://www.huaykaewchiangmai.go.th/web/info4.php

Cohen, J. and Uphoff. (1977). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. London: Rural Development Center: Cornell University.

Goodwin, H. & Santilli, R. (2009). Community-based tourism: A success. Leeds: ICRT Occasional Paper No. 11.

Kontogeorgopoulos, N., Churyen, A., & Duangsaeng, V. (2014). Success factors in community- based tourism in Thailand: The role of luck, external support, and local leadership. Tourism Planning & Development, 11(1), 106-124.

Limaj, E., & Bernroider, E. W. (2019). The roles of absorptive capacity and cultural balance for exploratory and exploitative innovation in SMEs. Journal of Business Research, 94, 137-153.

Mabenge, B. K., Ngorora-Madzimure, G. P. K., & Makanyeza, C. (2020). Dimensions of innovation and their effects on the performance of small and medium enterprises: The moderating role of firm’s age and size. Journal of Small Business & Entrepreneurship, 32(6), 1-25.

Ministry of Tourism and Sports. (2017). Tourist statistics for 2016. Retrieved June 3, 2022, from http://www.mots.go.th

Sarobol, S. (2003). Community Based Tourism CBT: Concept and Experiences of the Northern Region. Chiang Mai: Thailand Research Fund.

Suansri, P. (2011). CBT has a social space dimension of the community in determining tourism directions, Creating learning between the host and visitors. Best Practice 5 Case studies nationwide. Bangkok: Wanida Printing.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Yuwono, W. (2021). Empirical analysis of intellectual capital, potential absorptive capacity, realized absorptive capacity and cultural intelligence on innovation. Management Science Letters, 11(4), 1399-1406.