การจัดการเรียนรู้ เรื่อง แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับชุดกิจกรรม

Main Article Content

วรดา เจ็ดรัมย์
สิริพัฒถ์ ลาภจิตร
ชาตรี เกษโพนทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ เรื่องแหล่งเรียนรู้ ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับชุดกิจกรรม 2) ศึกษาผลจัดการเรียนรู้ เรื่อง แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ มีจำนวน 28 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรม จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน การวิจัยเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วย T-test Dependent รายงานผลการวิจัยโดยพรรณนาความ


ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับชุดกิจกรรม โดยนำนักเรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจากแหล่งเรียนรู้ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับชุดกิจกรรม จำนวน 4 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 4 แผน ใช้เวลาทั้งสิ้น 8 ชั่วโมง แต่ละชุดกิจกรรมนักเรียนสามารถมีส่วนร่วมในการเรียน มีการจัดกระบวนการกลุ่ม และมีการวัดผลประเมินผลก่อนเรียนและหลังการจัดการเรียนรู้ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ มีผลคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียน 10.61 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 53.04 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 16.39 คะแนน คิดเป็นร้อยละ81.96 ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับชุดกิจกรรม มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกรกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

จรัสศรี พัวจินดาเนตร. (2560). หลักกิจกรรมพื้นฐานการงานอาชีพสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฒิชากร ปริญญากาญจน์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้เรื่องการบวก และการลบเลข ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 17(2): 115-128.

ณัฐิกา วงษาวดี. (2551). ผลการเรียนรู้และความพึงพอใจวิชาทัศนศิลป์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียที่สร้างมโนทัศน์ก่อนการเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์, กรุงเทพฯ.

ดรุณตรีย์ เหลากลม. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โมเมนตัมและการชนด้วยชุดกิจกรมการเรียนรู้เชิงรุก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2549). เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้ด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.

พระคเณศ ปภสฺสโร. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดบางพลีน้อย จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

พัชรศรัณย์ ศิริพันธ์ และคณะ. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยบูรณาการกับหลักปรัชญา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.

เยาวลักษณ์ ชื่นอารมณ์. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมวัฏจักรการเรียนรู้ 5E. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

อัจฉรา วรัยศรี. (2566). การจัดการเรียนรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง.สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/414168.

Joyce, D. and Weil, M. (1972). Model of Teaching. New Jersy: Prentice-Hall.