ความเท่าเทียมระหว่างคนและพาหนะ ความปลอดภัยในการใช้ทางสัญจร ในพื้นที่เมือง

Main Article Content

วงศธร สุขัคคานนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการรวบรวม และประมวล สรุปการวิเคราะลักษณะแนวทางและความเป็นไปได้ในการออกแบบลักษณะของทางข้ามในบริบทเมือง จากแนวคิดถนนมวลชน (Democratic street)  ที่ให้ความสำคัญกับคนเดิน และขนส่งสาธารณะ และการเข้าถึงของกลุ่มคนที่หลากหลาย หรือแนวคิดแบ่งปันถนน (woonerf) การศึกษานี้ทำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครความเป็นเมืองหลวงที่มีความหนาแน่นของประชากรเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดปัญหาความเหลือมล้ำขึ้น การพัฒนาการของเมืองด้านการขนส่ง ที่สวนทางคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ความไม่ปลอดภัยในการใช้ทางสัญจรของคนที่เกิดจากการรับรู้ของคนที่ใช้ยานพาหนะที่มองข้ามบุคคลที่ใช้ทางสัญจรร่วมกัน จากการสำรวจข้อมูลสถิติพบว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้งานทางเท้า และทางข้ามทางม้าลายสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของกลุ่มประเทศอาเซียน


ซึ่งทฤษฎีการรับรู้ทางงานสถาปัตยกรรมนั้นมีส่วนช่วยเหลือในการออกแบบเส้นทางหรือลักษณะบางอย่างที่ก่อให้เกิดกระตระหนักรับรู้ ความตื่นตัวเมืองเข้าเขตที่มีจุดร่วมกันกับผู้ใช้ทางสัญจรอื่นนั้นคือทางข้าม ที่เป็นจุดตัดกันระหว่างคนและยานพาหนะ ซึ่งสามารถนำทฤษฎีการออกแบบมาประยุกค์ได้เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิต


นี่อาจเป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางในการออกแบบเพื่อแก้ไข หรือลดปัญหาความเหลือมล้ำด้านความปลอดภัยระหว่างคนกับยานพาหนะที่คนกรุงเทพกำลังพบเจอในปัจจุบัน


คำสำคัญ : ความเท่าเทียม,ทางข้าม,การรับรู้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Anne Vernez Moudon. 1991. Public street for public use. Columbia University Press

Irvin Rock. 1983. The logic of perception. Cambridge: The MIT Press

Kevin Lynch. 1960. The image of the city. Cambridge: The MIT Press

Sudarshan Tiwari. 2017. The Democratic Street. Journal of Comparative Urban Law and Policy: Vol. 1: Iss. 1 , Article 15.

ThaiHealth Official. 2559. เมืองเดินได้สู่เมืองเดินดี อนาคตรูปแบบใหม่. [สื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทออนไลน์]. https://www.thaihealth.or.th/?p=241878: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์. 2022. คนเดินเท้าใน กทม. เสี่ยงอุบัติเหตุมากที่สุดในประเทศ. สืบค้นเมื่อ

สิงหาคม 2566, จาก https://theactive.net/news/disaster-20220624/

นรชิต จิรสัทธรรม. 2565. ทวงคืนทางเท้าปลอดภัยให้กับคนเดินเท้า | มุมมองบ้านสามย่าน. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566, จากhttps://www.bangkokbiznews.com/columnist/989127

ศิริมา ปัญญาเมกุล (2556). "อุโมงค์ ทางเลือก ทางลอดข้ามถนนสำหรับคนเดินเท้าในกทม. "เอกสาร

ประชุมวิชาการ การส่งเสริมการเดิน และการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ครั้งที่ 1 29-30 มีนาคม 2556 จัดโดยชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.) หน้า 37-42

อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้. 2019. กรุงเทพฯ: เมืองใหญ่ ถนนน้อย ทางเท้าด้อยคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ

สิงหาคม 2566, จากhttps://theurbanis.com/mobility/01/11/2019/3056