การศึกษาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเพื่อเสนอแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมตลาด และร้านค้าชุมชนต้นแบบ สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น บ้านในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการศึกษาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเพื่อเสนอแนวทางการออกแบสภาพแวดล้อมตลาด และร้านค้าชุมชนต้นแบบ สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น บ้านในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมตลาดต้นแบบ และร้านค้าชุมชนที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเชิงพื้นที่ และเพื่อสร้างแนวทางของแบบผังสถาปัตยกรรม และร้านค้าชุมชนของวิสาหกิจชุมชนบ้านในวงใต้ การศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาแนวทางการออกแบบพื้นที่เพื่อการพัฒนาต้นแบบ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รพ.สต. และผู้แทนภาคเอกชน จำนวน 35 คน ผู้จำหน่วยการอาหารในตลาดชุมชนทั้งหมด จำนวน 161 คน และนักท่องเที่ยว/ผู้ใช้บริการ จำนวน 246 คน
พบว่า ในพื้นที่บ้านวงในใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง จากภาพรวมในด้านของสถาปัตยกรรมในพื้นที่ปัจจุบัน ขาดความสอดคล้อง และไม่กลมกลืนกับธรรมชาติในพื้นที่ ขาดเรื่องราวที่จะจูงใจให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่เพิ่มขึ้น และเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้องอาศัยปัจจัยเช่นเดียวกับงานสถาปัตยกรรม คือ แนวทางของสถาปัตยกรรมต้องอาศัยธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่มีงานสถาปัตยกรรมมาเป็นส่วนร่วม จะทำให้สามารถดึงนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายกลุ่มได้
งานวิจัยนี้ มุ่งศึกษาพื้นที่การสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นแหล่งซื้อขาย หรือตลาดของชุมชุน. เพื่อการท่องเที่ยว พร้อมทั้งในพื้นที่ต่อเนื่อง จะทำให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อาชีพคนในพื้นที่ และรายได้ในด้านอื่นที่นอกเหนือจากการเกษตร พื้นที่บ้านวงในใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพของการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งอากาศ และทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ แต่เนื่องด้วยการประกอบอาชีพหลักของชุมชนที่ทำรายได้สูงคือการปลูกทุเรียนส่งออกต่างประเทศ ทำให้คนในชุมชนมีมุมมองเรื่องของการท่องเที่ยวในพื้นที่น้อย และไม่ให้ความสำคัญต่อการท่องเที่ยว หากมีการให้แนวทาง เพื่อสร้างความเข้าใจถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีงานสถาปัตยกรรมมาเป็นส่วนร่วม
การวิจัยนี้ มีแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมตลาด โดยนำเอาลักษณะของเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เรียกว่า เรือนเกย ซึ่งเป็นเรือนเดี่ยว มาใช้เริ่มต้นในการออกแบบร้านค้า เนื่องจากเป็นเรือนเดียวมีการใช้พื้นที่ใช้สอยไม่ซับซ้อน คือมีเรือนนอน และระเบียงหรือเกย และเพิ่มหน้าจั่วของอาคารมีลายตะเว็น (ตะวัน) ประดับตามความเชื่อของชาวอีสาน
คำสำคัญ : อัตลักษณ์สถาปัตยกรรม, แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อม ,ตลาดและร้านค้าชุมชุนต้นแบบ ,การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
Article Details
References
กำธร กุลชล. (2545). การออกแบบชุมชนเมืองคืออะไร: การติดตามหาคำ ตอบในรอบ 40 ปี.
นครปฐม :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
เกียรติ จิวะกุล และจาตุรนต์ วัฒนผาสุก.(2525) “ตลาดในกรุงเทพมหานคร การขยายตัวและการ
พัฒนาการ”.รายงานการวิจัยเงินทุนเพื่อเพิ่มพูน และพัฒนาประสิทธิภาพทางวิชาการ.
ไกยศ พรหมชาติ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการออกแบบพื้นที่ และรูปแบบร้านค้าของตลาดสด
ชุมชนในกรุงเทพมหานคร.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชลธิชา มาลาหอม.(2555). “อัตลักษณ์ชุมชนรากฐานสู่การศึกษา”. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1(19): 41
ธนาคารออมสิน.คู่มือการออกแบบตลาดสด.(2547). บริษัท คอนวัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด.
มาลิณี ศรีสุวรรณ.(2540). ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบอาคารสาธารณะประเภทต่างๆ.พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับ
แก้ไขและเพิ่มเติม.กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริลักษณ เมฆออน และมนสิชา เพชรานนท์.(2556). ผลกระทบการทองเที่ยวตออัตลักษณชุมชน:
กรณีศึกษาชุมชนแหลงทองเที่ยวอัมพวา.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สาธิต ดิลกคุณานันท์.(2558).แนวทางการออกแบบตลาดเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน.
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I). (2562). รู้จักการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT). (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก: https://cbtyouth.wordpress.com/cbt-youth/cbt/.
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล.(2546). อัตลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ.
สาขาสังคมวิทยา สำนักงาน. คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ