การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง

Main Article Content

ทิสวรรณ ชูปัญญา
ณัฐวุฒิ กิ่งตระการ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่องมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพเชิงสัณนิษฐานย่านประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศึกษามรดกและทรัพยากรทางวัฒนธรรมตลอดจนประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มศักยภาพสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินคุณค่าทรัพยากรทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้แบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ในลักษณะเชิงสำรวจ การสังเกตการสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์ 5A ได้แก่ สถานที่ ท่องเที่ยว การเข้าถึงที่พัก     สิ่งอำนวยความสะดวก การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเพื่อคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวและระบุความโดดเด่นทางวัฒนธรรมผลการศึกษาพบว่าแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่องซึ่งประกอบด้วย 3 เขตคือ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตดุสิต มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพจำนวน 47 แห่งโดยเป็นผลการศึกษาแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อมีการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคสยามสมัยใหม่ (New Siam) ซึ่งได้เริ่มกระบวนการปฏิรูปหรือขบวนการทันสมัยโดยมีผลประเมินศักยภาพเรียงตามระดับคะแนนมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ วังปารุสกวันและป้อมพระสุเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร วังบางขุนพรหม และพิพิธบางลำพู นอกจากนี้ยังพบว่าในหลายพื้นที่ยังมีทรัพยากรเชิงวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มีเรื่องราว ความทรงจำ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมที่สืบสานจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่นตรอกละครชาตรี บ้านเต้นรำ บ้านศิลปะหรือบ้านนางเลิ้ง บ้านนราศิลป์ ตรอกบ้านพานถม ศาลเจ้าแม่ทับทิมวัฒนธรรมทางด้านอาหารในห้องอาหารแก้วเจ้าจอม โรงแรมวังสวนสุนันทา อาหารณวนในชุมชนบ้านมิตรคามและตลาดนางเลิ้งเป็นต้น ดังนั้นการรักษา และสืบสานให้มรดกเชิงวัฒนธรรมเหล่านี้ไม่ให้สูญหายและยังทรงคุณค่ามีเอกลักษณ์นำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวจึงควรมีแนวทางการเพิ่มศักยภาพทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน และแหล่งทรัพยากรเชิงวัฒนธรรม โดยมีการบูรณาการการทำงานการบริหารจัดการผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดความพร้อมและความร่วมมือในการสร้างเอกลักษณ์และคุณค่าของแหล่งวัฒนธรรม เช่นการจัดกิจกรรม เส้นทางและโปรแกรมการท่องเที่ยว การสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกของชุมชนและแหล่งทรัพยากรการจัดทำแผนที่ชุมชนและภูมิปัญญาของมรดกทางวัฒนธรรม (Story Telling)โดยมาจากรากฐานของชุมชน เสริมสร้างความรู้เช่นความรู้ด้านธุรกิจ การตลาด การประชาสัมพันธ์การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารประกอบกับการเตรียมการสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานสำหรับการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การออกแบบสำหรับคนทุกคน (Universal Design)การเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมและการเชื่อมต่อระบบการสัญจรทั้งในปัจจุบันและอนาคต


คำสำคัญ : การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ศักยภาพการท่องเที่ยว มรดกเชิงวัฒนธรรม พื้นที่สวนดุสิต

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กัลยา สว่างคง, (2558), การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในมุมมองของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยวประเภทน้ำตกในจังหวัดสระบุรี, สืบค้นจากhttp://ejournals.swu.ac.th/index.php/JOS/article/view/7020/6536

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). Amazing Thailand Tourism Year 2018.สืบค้นจาก https://tatreview.files.wordpress.com/2017/11/tat42017_46-51-tourism-events.pdf

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). การท่องเที่ยวโดยชุมชมอย่างยั่งยืน.สืบค้นจาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/cbt-thailand/

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, 2558. “เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย Research Instrument”. สืบค้นจากhttps://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/59056

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์, 2560. “การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน” สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/113060/88029

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). เทรนด์ท่องเที่ยวปี 2018 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก. สืบค้นจากhttps://www.prachachat.net/world-news/news-95925

สำนักการวิจัยแห่งชาติ, (2562). แผนงานการพัฒนาการบริหารจัดการและศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง, กรุงเทพมหานคร

สำนักการวิจัยแห่งชาติ, (2562). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง, กรุงเทพมหานคร

สำนักการวิจัยแห่งชาติ, (2562). การศึกษาตลาดและลักษณะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง, กรุงเทพมหานคร

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism). สืบค้นจากhttp://www.dasta.or.th/attachments/article/1599/CTBook.pdf

David P. Pinel (1998). Create A Good Fit: A Community-Based Tourism Planning Model. Retrieved fromhttps://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc

Doohyun Hwang, William P. Stewart and Dong-wan Ko, (2014). “Community Behavior and Sustainable Rural Tourism Development” Retrieved from https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0047287511410350

Marketing oops!, 2558. “ Business Model Canvas อาวุธอันแยบยล ของคนทำธุรกิจ”สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/news/biz-news/business-model-canvas/

RACHEL BLAKELY-GRAY, 2019. “How to Write a Small Business Plan Like a Boss”, Retrieved from https://www.patriotsoftware.com/blog/accounting/how-to-write-small-business-plan/

Suthamma Nitikasetsoontorn, (2015). The Success Factors of Community-Based Tourism in Thailand. Retrieved from http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2014/b185058.pdf