การประยุกต์ใช้อากาศยานไรคนขับ(โดรน)ในการตรวจงานอาคารสูงและพื้นที่เสี่ยง

Main Article Content

วิทวัส วรรณบูลย์

บทคัดย่อ

โครงการอาคารสูง มีผลต่อการแสดงศักยภาพของประเทศ เมือง หรือองค์กรนั้น ๆ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการก่อสร้างอาคาร และเทคโนโลยีในการก่อสร้าง ซึ่งแต่ละองค์กรจะแข่งขันกันในรูปแบบต่าง ๆ ที่แสดงอกมาอย่างเห็นได้ชัด ในด้านเรื่องเวลาในการก่อสร้าง ความแปลกใหม่ของโครงสร้าง รูปลักษณะที่แตกต่างของอาคารกับอาคารอื่น ๆ ซึ่งวิธีเหล่านี้จะเห็นได้ซัดเป็นรูปธรรม และตัวของอาคารสูงเองก็เห็นได้ชัดจากที่ต่างและเป็นลักษณะเด่นในเมืองนั้น ๆ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดและมีผลกระทบตามมาคือความเสี่ยง ความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นในโครงการอาคารสูง ซึ่งมีผลต่อชีวิตของทุก ๆ คนที่เกี่ยงข้องกับโครงการ การมีระบบการควบคุมความปลอดภัยเป็นวิธีที่ดีและใช้ในหลาย ๆ โครงการ รวมถึงการมีผู้ตรวจสอบและผู้ควบคุมงานที่คอยตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อคอยสังเกตและวิเคราะห์พื้นที่ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดความเสี่ยงอัตราย แต่ในการขึ้นตรวจสอบงานในพื้นที่ที่เห็นว่ามีความเสี่ยง ย่อมจะมีความเสี่ยงในขณะขึ้นตรวจอยู่แล้วจึงจำเป็นจะต้องมีการใช้เครื่องมือในการการช่วยประเมินสถานการณ์แสดงผล และผู้ควบคุมงานสามารถวิเคราะห์ได้โดยปลอดภัย


เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) นำมาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้าง ช่วยในการตรวจงานอาคารสูง เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อผู้ควบคุมงาน และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการประเมินสถานการณ์ บันทึก และแสดงผล ให้ผู้ควบคุมงานสามารถวิเคราะห์สถานการณ์หรือความเสี่ยงได้ก่อนขึ้นตรวจงานจริง เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการลดระยะเวลาในการขึ้นตรวจงาน และลดความเสี่ยงอันตรายในการเข้าพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดอันตราย อากาศยานไร้คนขับ(โดรน)สามารถแสดงให้เห็นถึงมุมมอง และภาพรวมของโครงการในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยผู้ตรวจงานสามารถนำอากาศยานไร้คนขับ(โดรน) บินขึ้นตรวจงานเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ณ ขณะนั้นโดยรับสัญญาณภาพผ่านทางโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และสามารถบันทึกภาพถ่าย และวีดีโอ เพื่อนำมาวางแผน ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มานพ แก้วโมราเจริญ, ร.ท.ณัฐพงศ์ พุ่มงาม, ชัชวาล วรศรีหิรัญ และ พรพจน์ นุเสน : (2558).การประเมินรูปแบบการบินที่หมาะสมในการนำเทคโนโลยีโดรน มาใช้ในการติดตามและควบคุมโครงการก่อสร้าง. บทความสำหรับการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 20.

สุดารัตน์ วิชัยรัมย์ : (2552). ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของคนงานก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิซาการจัดการทางวิศวกรรม

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อินทนนท์ อินทโชติและชินพัฒน์ บัวชาติ (2564). การประยุกต์ใช้อากาศยานไรคนขับสำหรับการตรวจการก่อสร้างอาคาร. ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จ.เชียงใหม่การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26 วันที่ 23-25 มิถุนายน 2564.

Aonic (2566). เพิ่มประสิทธิภาพใน งานก่อสร้าง ด้วยโดรนสำรวจ. ถึงเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.aonic.com/th

Anand S. : (2007). Domestic Use of Unmanned Aircraft Systems: an Evaluation of Policy

Constraints and the Role of Industry Consensus Standards. Washington Internships

for Students of Engineering.

F. Neitzel a and J. Klonowski : (2011). Mobile 3d Mapping With A Low-Cost Uav

SYSTEM. Conference on Unmanned Aerial Vehicle in GeomaticsZurich, Switzerland.

Hubbard B, Wang H, Leasure M, Ropp T, Lofton T, Hubbard, S and Lin S : (2015).

Feasibility Study of UAV use for RFID Material Tracking on Construction Sites.

Jiménez-Jiménez, S.I.; Ojeda-Bustamante, W.; Marcial-Pablo, M.; Enciso, J. Digital Terrain (2021)

Models Generated with Low-Cost UAV Photogrammetry: Methodology and

Accuracy. ISPRS Int. J. Geo-Inf. 2021

Irizarry J and Johnson E. Feasibility Study to Determine the Economic and Operational

Benefits of Utilizing Unmanned Aerial Vehicles (UAVs). Georgia Institute of

Technology School of Building Construction.

Irizarry J, Gheisari M and Walker B : (2012). Usability Assessment of Drone Technology as

Safety Inspection Tools. Journal of Information Technology in Construction.

Javier Irizarry, Masoud Gheisari, Bruce N Walker : (2012). USABILITY ASSESSMENT OF

Drone Technology As Safety Inspection Tools. Assistant Professor,

Georgia Institute of Technology.

Krajnik T, Vonasek V, Fiser D, and Faigl J : (2011). AR-Drone as a Platform for Robotic

Research and Education. Research and Education in Robotics: EUROBOT,