แนวทางการลดจำนวนของเสียของวัสดุประเภทไม้แบบในงานก่อสร้างบ้าน

Main Article Content

สุวรรณฉัตร บุญมี
พิชา ศรีพระจันทร์

บทคัดย่อ

โครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย คาดว่าการเปิดโครงการใหม่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยปีละ 10.0% หรือประมาณ 70,000 ยูนิตต่อปี ในช่วงปี 2565-2567 โดยผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มเพิ่มสัดส่วนการก่อสร้างบ้านแนวราบมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ชานเมือง รองรับความต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง โดยได้แรงหนุนจากการขยายโครงข่ายการคมนาคมของภาครัฐ ทั้งโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและมอเตอร์เวย์ที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างชานเมืองสู่ตัวเมืองได้รวดเร็วขึ้น สมาคมรับสร้างบ้านระบุว่าราคาบ้านมีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มร้อยละ 5-8 ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 (พุทธชาด ลุนคำ,2566)


ไม้แบบ คือ โครงสร้างชั่วคราวที่ทำจากไม้ ใช้สำหรับติดตั้งเป็นแม่แบบในงานหล่อคอนกรีตและคอนกรีตเสริม สำหรับโครงสร้างและส่วนประกอบต่างของอาคาร เช่น เสา คาน พื้น ผนัง ถนน เป็นต้น  โดยไม้แบบ จะมีหน้าที่รองรับน้ำหนักของคอนกรีต และสร้างขอบเขตในการเทให้คอนกรีตออกมาเป็นรูปแบบตามต้องการ เป็นวัสดุที่เป็นต้นทุนสำคัญในงานก่อสร้างบ้าน ดังนั้น การลดของเสียไม้แบบให้น้อยที่สุดในงานก่อสร้างบ้าน เป็นการบริหารต้นทุนการก่อสร้างให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และยังสามารถช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมจากการลดปริมาณการใช้ไม้ลงได้อีกด้วย


งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการลดจำนวนของเสียไม้แบบ จากงานก่อสร้างบ้านโดยใช้แนวคิดจากลีนคอนสตรัคชั่น (Lean Construction) มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ได้แก่ 1.เพื่อหาสาเหตุการเกิดของเสียจากไม้ที่เกิดจากงานก่อสร้างบ้าน 2.เพื่อศึกษาแนวทางการนำแนวคิดเรื่องลีนคอนสตรัคชั่นมาใช้ในการลดจำนวนของเสียที่เกิดจากไม้


คำสำคัญ : ของเสียจากงานก่อสร้าง, ไม้แบบ, งานก่อสร้างบ้าน, ลีนคอนสตรัคชั่น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชนิกา วงศ์ไพฑูรย์ (2558). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงงานในงานก่อสร้างอาคารภาครัฐ: กรณีศึกษาอาคารโรงพยาบาลของรัฐ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พุทธชาด ลุนคำ (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2565-67 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง,ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา

พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ และ กมลวัลย์ ลือประเสริฐ. (2542). Lean Construction หนังสือโยธาสาร 2542.สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2561, จาก http://www.thaiengineering.com/2015/index.php/technology/item/447-lean-construction.

ศศิพร สายสุทธิ์. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจก่อสร้างและการวิเคราะห์ธุรกิจเพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคตกรณีศึกษา. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สินีพันธุ์ สมบุญญฤทธิ. (2550) การใช้หลักการของลีนคอนสตรั๊กชั่นในการควบคุมการก่อสร้างโครงการบ้านกู้ภัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร