การท่องเที่ยวภูมิทัศน์สถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ 5 ในพื้นที่ย่านสวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง

Main Article Content

ภาวิณ สุทธินนท์

บทคัดย่อ

การศึกษาการท่องเที่ยวภูมิทัศน์สถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ 5 พื้นที่ย่านสวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่องมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ศึกษาลักษณะทางกายภาพเชิงสัณฐาน ย่านประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง และศึกษามรดกและทรัพยากรทางวัฒนธรรม ในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง  เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มศักยภาพสำหรับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่อง การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้แบบประเมินคุณค่าทรัพยากรทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ แบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ในลักษณะเชิงสำรวจ  การสังเกต การสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม


          การศึกษาวิจัยนี้ทำในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่องซึ่งประกอบด้วย 3 เขตคือ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตดุสิต จากงานวิจัยเรื่องการท่องเที่ยววัฒนธรรมในพื้นที่ย่านสวนดุสิตและพื้นที่ต่อเนื่องได้พบว่า ภูมิทัศน์ของสัณฐานเมืองและมรดกวัฒนธรรมด้านสถาปัตยกรรมในพื้นที่วิจัยนี้มีความน่าสนใจในด้านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคสยามใหม่ (New Siam) จึงได้เน้นศึกษาเชิงลึกใน 2 ประเด็นดังกล่าว


          ผลการศึกษาพบว่า อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกที่แพร่เข้ามาในภูมิภาคนี้และทั่วโลก นำมาซึ่งการปรับตัวเพื่อให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกโดยการเปลี่ยนแปลงทั้งภูมิทัศน์ของเมืองและสถาปัตยกรรมที่ต้องรับเอาวิทยาการและอารยธรรมของชาติตะวันตกเข้ามาปรับให้สอดคล้องกับประเทศไทยให้ได้มากที่สุด นำมาซึ่งการเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในยุคสมัยนั้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ภาษาไทย

กรมการท่องเที่ยว. 2557. แนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทางประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรม. สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว.

กองสารสนเทศภูมิศาสตร์. 2559. สถิติ 2559 กรุงเทพมหานคร. สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

กองการท่องเที่ยวสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร. 2560. คู่มือท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเขตดุสิต. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตดุสิต

ธรรมเกียรติ กันอริ. 2554. พระนครควรชม. กรุงเทพ: อมรินทร์ สายธุรกิจโรงพิมพ์

บัณฑิต จุลาศัย พรีศรี โพวาทองและรัชดา โชติพานิช. 2557. วังสวนดุสิตเมื่อพระพุทธเจ้าหลวงสร้างบ้านสร้างเมือง. กรุงเทพ: มติชน

ปราณี กล่ำส้ม. 2552. ย่านเก่าในกรุงเทพฯ. เล่ม 2. วารสารเมืองโบราณ ฉบับพิเศษ กรุงเทพ: เมืองโบราณ

ประสิทธิ์ เอื้อตระกูลวิทย์. 2558. ประวัติศาสตร์ไทย ม.4-6. นนทบุรี: บริษัท สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 1

ภารดร ศักดา. 2557. ชุมชน100ปี ในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ: แสงดาว

ส.พลายน้อย. 2553. เล่าเรื่องบางกอก. กรุงเทพ: บริษัทสถาพรบุ๊คส์ พิมพ์ครั้งที่ 7

สุดารัตน์ แสงจำนงค์. 2550. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาเพื่อพัฒนาเส้นทางการ ท่องเที่ยวพระตำหนักในสมัยรัชกาลที่ 5 เขตพระราชวังดุสิต. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. 2553. พัฒนาการย่านนางเลิ้ง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2553

สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว. 2555. กรุงเทพบนธารฝั่งแห่งวัฒนธรรม. กรุงเทพ: ปาป้า พริ้นติ้ง เฮาส์จำกัด

สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว. 2554. กทม บางกอก บอกเล่า (เรื่อง) กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

สำราญ ผลดี. 2559. ประวัติศาสตร์ชุมชนมุสลิมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ เจ้าพระยาสมัยรัตนโกสินทร์ถึงปัจจุบัน ศึกษาพื้น ที่บางกอกน้อยและบางกอกใหญ่. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี. ปีที่ 10 ฉบับที่ : พฤษภาคม - สิงหาคม 2559

สิทธิพร ภิรมย์รื่น. 2549. การออกแบบชุมชนเมืองที่น่าอยู่ และยั่งยืน : ทฤษฎีและประสบการณ์.วารสารวิชาการคณะสถาปัตกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำ ปีการศึกษา 2549- 2550

เอนก นาวิกมูล. 2547. ประมวลเรื่องรัชกาลที่ 5. สำนักพิมพ์แสงดาว. พิมพ์ครั้งที่ 2

ภาษาอังกฤษ

Australia ICOMOS. 2013. Cultural heritage places. [online], accessed 10 June 2019

Available fromhttps://australia.icomos.org/publications/charters/

Boym, Svetlana. 2002. The Future of Nostalgia. New York: Basic Books

Catanese J.C. & Snyder.1988. Introduction to Urban Planning. New York: Mc Graw-Hill

Dickman, S. 1996. Tourism: An introductory text (2nd ed.). Melbourne:Hodder Education.

Feilden, M. Bernard & Jokilehto,Jukka. 1998. Management. Guidelines for World Cultural Heritage Sites. Second Edition, Rome: ICCROM

Harry L. Garnham, 1985. maintaining the spirit of place in A Process for the Preservation of town character Mesa: PDA,

Hartshorn, T.A. 1980. Interpreting the City: An Urban Geography. New York : Wiley

Lynch, Kevin. 1960. Image of the city. Cambridge: The MIT Press

Morriss David, 1975. Neighborhood Power: the new location. Boston: Beacon Press.

Montgomery, J. 1998. Making a city: Urbanity, vitality and urban design.

Journal of Urban Design 3 (1), pp 93-116

Norsidah Ujang. 2010. Place Attachment and continuity of urban place Identity. Department of Landscape Architecture, Faculty of Design and Architecture, Universiti Putra Malaysia (UPM). sian Journal of Environment-BehaviourStudies

Speiregen, Paul David .1965 . Urban Design the Architecture of Towns and Cities. Krieger Pub Co