การศึกษาทิศทางการพัฒนาหลักสูตร ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

ณัฐพงษ์ โตมั่น
รพีภรณ์ เบญจพิทักษ์ดิลก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของหลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ประจำหลักสูตรระดับปริญญาตรีคณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 65 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบปลายเปิดและปลายปิดในส่วนของแบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนแบบสอบถามปลายปิดเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของหลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยในแต่ละด้าน คือ ด้านบริบทสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านผลผลิต และด้าน ปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฐพงษ์ โตมั่น, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

รพีภรณ์ เบญจพิทักษ์ดิลก, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

References

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560), (ร่าง)ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2561). ข้อกำหนด การศึกษาโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่เพื่อตอบโจทย์ ภาคการผลิตตามนโยบายปฏิรูปอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพ-มหานคร: สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2561).สถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2557-2561. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีโนพับลิชชิ่ง แอนด์แพคเกจจิ้ง จำกัด.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (2562). รายงาน ประจำปี 2562. ปทุมธานี: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ใน ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร และคณะ. (2558). รายงานการวิจัย การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตนศิริ เข็มราชและคณะ. (2558). รายงานการวิจัยการประเมินหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะเป็นภาษาโลก. ชลบุรี:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรเกียรติ ธาดาวัฒนาวิทย์. (2561). คุณลักษณะบัณฑิต ที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศไทยตามแนว "ประเทศไทย 4.0". วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12 (2), 404-416.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2558). การประเมินหลักสูตร: แนวคิด กระบวนการและการใช้ ผลการประเมิน. วารสาร ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน 2558.

เฉลิมพงศ์ มีสมนัย. (2560).การประเมินการจัดการเรียน การสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตแขนงวิชา บริการรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 15(1), 55-74.