การพัฒนายุทธศาสตร์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาไปสู่องค์การสมรรถนะสูง

Main Article Content

ศิริวรรณ มนอัตระผดุง
พรชัย เทพปัญญา
นรินทร์ สังข์รักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาร่วมกับการวิจัยเชิงนโยบาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการพัฒนาสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาไปสู่องค์การสมรรถนะสูง 2) จัดทำร่างข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาไปสู่องค์การสมรรถนะสูง 3) นำเสนอและรับรองการพัฒนายุทธศาสตร์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาไปสู่องค์การสมรรถนะสูง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 29 คน ประเมินตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นหน่วยงานหลักในการทำหน้าที่สนับสนุนภารกิจของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญบัญญัติ สำหรับการบริหารจัดการองค์การ พบว่า ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่อการพัฒนาไปสู่องค์การสมรรถนะสูง ได้แก่ การแบ่งงานกันตามหน้าที่มากเกินไป ขาดการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน บุคลากรมีภาระงานไม่สอดคล้องกับโครงสร้างและอัตรากำลังส่งผลให้การพัฒนางานเพื่อสนับสนุนงานด้านนิติบัญญัติได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อีกทั้งขาดเวลาเรียนรู้พัฒนาตนเองเพื่อสร้างนวัตกรรม 2) ร่างขอเสนอเชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาไปสู่องค์การสมรรถนะสูง ซึ่งควรประกอบด้วย (1) การยกระดับการบริหารจัดการให้มีสมรรถนะสูง เพื่อสนับสนุน กระบวนการนิติบัญญัติของวุฒิสภา (2) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบงานด้านนิติบัญญัติและการพัฒนากลไกในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ (3) เพิ่มขีดความสามารถบุคลากรให้มีสมรรถนะสูง (4) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ (5) การส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยและสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคประชาชนและเครือข่ายทุกภาคส่วนของประเทศ 3) ผลการนำเสนอและรับรองการพัฒนายุทธศาสตร์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาไปสู่องค์การสมรรถนะสูง ทุกฝ่ายมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้ สำหรับข้อเสนอแนะงานวิจัยครั้งต่อไป คือควรมีการศึกษาวิจัยรูปแบบและยุทธศาสตร์การเป็นองค์การสมรรถนะสูงของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศิริวรรณ มนอัตระผดุง, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 

พรชัย เทพปัญญา , คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 

นรินทร์ สังข์รักษา, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

รองศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

References

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). ประเทศไทยในบริบทไทยแลนด์ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 .กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561).[ออนไลน์]. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563]. จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_PlanOct2018.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). [ออนไลน์]. คู่มือการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 การขับเคลื่อนหน่วยงานภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563]. จาก https://www.opdc.go.th/file/reader/bjN4fHwzNjQ3fHxmaWxlX3VwbG9hZA

De Waal, A. A. . (2010). Performance-driven behavior as the key to improved organizational performance. Measuring Business Excellence, 14(1), 79-95.

Collins, J. C. (2001). Good to Great. London: Random House.

De Waal, A. A. . (2012). What Makes a High Performance Organization: Five Factors of Competitive Advantage that Apply Worldwide. London: Global Professional Publishing.

อภิวัฒน์ สุดสาว. (2560). วุฒิสภาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 วารสารจุลนิติ . ปีที่14 ฉบับที่4 (กรกฎาคม – สิงหาคม) . 115-128.

มณีวรรณ ฉัตรอุทัย.(2553). การทดสอบปัจจัยสำคัญในการพัฒนาองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงในบริบทองค์กรของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Weber, M.(1947). The Theory of Social and Economic Organizations. Translated by A.M. Handerson and T. Parsons. New York: Free Press.

Thompson, J. D. (1967). Organizations in Action: Social Science Bases of Administrative Theory. New York: McGraw-Hill Book Company

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2001). The Strategy-Focused Organization: How Balanced Scorecard Companies Thrive in The New Business Environment. Boston, Mass: Harvard Business School Press.

Bennis, Warren G .(1989). Managing the Dream: Leadership in the 21st Century, Journal of Organizational Change Management. Vol. 2 No. 1. pp. 6-10.

Blanchard, K. (2007). Leading at A High – Level. New Jersey: Prentice-Hall.

Lawler III, E. E. (2005). Make human capital a source of competitive advantage. Organisational Dynamics. 38(1). 1-7.

Miller, L. M. (2001). [Online]. The High-Performance Organization An Assessment of Virtues and Values Prepard for the European. BAHA’ í Business Forum. [Retrieved 7 May 2020]. from https://bahai-library.com/miller_high_performance_organization

Senge, P. (1994). The Fifth Discipline Fieldbook: Strategies and Tools for Building a Learning Organizational. London: Century Business.

Nonaka, I., and Takeuchi, H. (1995). The Knowledge - Creating Company: How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation: Oxford University Press, Inc.

Linder, J. C., & Brooks, J. D. (2004). Transforming the Public Sector. Outlook Journal. 3. 74-83.

Prahalad,C.K. et al., (1989). Collaborate with your competitors and win. Harvard Business Review. 67(1). 133-139.

สุมิตร สุวรรณ. (2554). การกำหนดยุทธศาสตร์. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.