การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู

Main Article Content

จิตติกร สงจันทร์
ชญาภัทร์ Chayapat
น้อมจิตต์ สุธีบุตร

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสูตรพื้นฐานของคุกกี้เนยสด 2) ศึกษาปริมาณตัวด้วงต้นสาคูที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสด 3) ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู และ 4) ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อคุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อคสมบูรณ์ (RCBD)  นำข้อมูลมาหาค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ (LSD)


       ผลการวิจัยพบว่า ผลการคัดเลือกสูตรพื้นฐานผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสด 3 สูตร ผู้ทดสอบชิทให้การยอมรับคุกกี้เนยสดสูตรที่ 2 ประกอบด้วยแป้งสาลีอเนกประสงค์ ผงฟู เนยสดชนิดเค็ม ไข่ไก่ น้ำตาลทรายป่น กลิ่นนมเนย คะแนนความชอบโดยรวม ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส ของคุกกี้อยู่ในระดับชอบมากที่สุด ผลการศึกษาปริมาณตัวด้วงต้นสาคูที่เหมาะสมในผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสดที่ปริมาณต่างกัน 4 ระดับ คือ ร้อยละ 40 60  80 และ 100 ของน้ำหนักแป้งสาลีอเนกประสงค์ที่ใช้ในสูตร พบว่าผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับคุกกี้เนยสดสูตรที่เสริมตัวด้วงต้นสาคูร้อยละ 100 ของปริมาณแป้งสาลีในด้านความชอบโดยรวม ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสในระดับชอบมากที่สุด โดยการเสริมตัวด้วงจากต้นสาคูแบบสดมีผลต่อค่าสีของคุกกี้เนยสด ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการพบว่าตัวด้วงสาคูแบบสด มีโปรตีนร้อยละ 7.74 ไขมันร้อยละ 17.89 และโอเมก้า 3 (ALA)  ร้อยละ 0.03 ซึ่งมีผลให้คุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู 100 กรัม มีพลังงาน 566.63 กิโลแคลอรี่ ไขมันร้อยละ 36.39 โปรตีนร้อยละ 9.32 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 50.46  โอเมก้า 3 (ALA) ร้อยละ 0.10  เถ้าร้อยละ 1.00 กรัม และความชื้นร้อยละ 2.81 โดยปริมาณโปรตีนและไขมันสูงกว่าคุกกี้เนยสดสูตรพื้นฐาน ผลศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อคุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู ผู้บริโภคทั่วไป ร้อยละ 99.17 ให้การยอมรับเพราะผลิตภัณฑ์มีความแปลกใหม่น่าสนใจ รสชาติดี อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการ ผู้บริโภคสนใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสดเสริมโปรตีนจากตัวด้วงต้นสาคู ราคากล่องละ 60 บาท ในขนาดบรรจุ 90 กรัม (15 ชิ้น)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จิตติกร สงจันทร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ชญาภัทร์ Chayapat, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

น้อมจิตต์ สุธีบุตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

References

ธิดารัตน์ เปรมประสพโชค, ศศิธร จานเก่า และ ประไพรภัส ทาน้อย. (2563). การทดแทนน้ำตาลทรายในคุกกี้ด้วยกล้วยน้ำว้า. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 53. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 923 – 930

อรนุช สีหามาลา, หนูเดือน สาระบุตร, พรประภา ชุนถนอม, และศุภชัย ภูลายดอก. (2561). คุณค่าทางโภชนาการของแมลงกินได้ในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า.36(2), 98-105.

นิรันดร หนักแดง. (2557). การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของด้วงสาคู. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

วิภาวรรณ วงศ์สุดาลักษณ์. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้เสริมใยอาหารจากซังจำปาดะ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา .

สิริลักษณ์ ฝ่ายดี สิรัญญา ธงชัย และพันธ์ทิพย์ ภูเขาทอง. (2559). คุกกี้เนยสดเสริมผักโขม.

ปรียาภรณ์ กล้าแข็ง, ยมลภัทร พวงรักษา และอารียา ส้มทอง. (2559). คุกกี้เนยสดสาหร่ายไกเสริมงาขาว. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโลยีราชมงคลพระนคร.

วรรธนา อินทวงค์. (2563). การใช้เวย์โปรตีนเสริมในคุกกี้เนยสดแป้งเมล็ดบัว. วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

คฑามาศ เข้าเมือง และน้อมจิตต์ สุธีบุตร. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยสดเสริมงาขี้ม่อน. ประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. มหาวิทยาลัยรังสิต., 683-691.

คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2556). คิดค้นสูตรอาหารเลี้ยงด้วงสาคูให้มีโอเมก้า-3 สูงกว่าน้ำมันปลา.[ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.wu.ac.th/th/news/ เมื่อ 15 กันยายน 2564.

lovefitt. (2565). สาระความรู้ด้านสุขภาพ. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.lovefitt.com/healthy-fact เมื่อ 18 กันยายน 2564.

พจนีย์ บุญนา. (2556). คุกกี้เมล็ดกระบก. รายงานการวิจัย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

จุรีมาศ ดีอำมาตย์, นฤมล บุญประสิทธ์, ชุติมา แย้มชมสวน, และสุฤทัย ธิอักษร. 2561. การเสริมคุณค่าทางโภชนาการโดยใช้ผงผักโขมในคุกกี้เนย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 6 (2), 43-51.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2564). โปรตีน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.foodnetworksolution.com/, 11 กันยายน 2565.

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2564). คิดค้นสูตรอาหารเลี้ยงด้วงสาคูให้มีโอเมก้า-3 สูงกว่าน้ำมันปลา. [ออนไลน์]. สืบค้นจากhttps://www.wu.ac.th/th/news/ เมื่อ 18 ธันวาคม 2564.

สวาท เกิดศิริ และสิริชนุตต์ ทองชิว. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้เนยเสริมผักหวานป่า. วารสารอาชีวศึกษาภาคกลาง. 16,107-112.

วรรธนา อินทวงค์. (2563). การใช้เวย์โปรตีนเสริมในคุกกี้เนยสดแป้งเมล็ดบัว. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.