รูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์

Main Article Content

กัลยา Kanlaya
ณธษา Nathasa
ทวีศักดิ์ รูปสิงห์

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ และนำเสนอรูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ เก็บรวมรวมข้อมูลจากประชาชนที่เคยซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรผ่านระบบออนไลน์ ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ


       ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รู้จักสินค้าเกษตรออนไลน์ผ่านการโฆษณาจากสื่อต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ โปรแกรมไลน์ และอื่นๆ ใช้เวลาในการใช้งานผ่านสื่อช่องทางขายสินค้าเกษตร น้อยกว่า 1 ชั่วโมง เวลาในการซื้อสินค้าเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์อยู่ในช่วงเวลา 20.01 - 24.00 น. ความถี่ในการซื้อสินค้าเกษตรผ่านช่องทางออนไลน์ต่อเดือน 1 ครั้ง ราคาเฉลี่ยในการซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ในแต่ละครั้ง 100 – 300 บาท ตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่นเฟสบุ๊ค ซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ที่บ้าน และซื้อสินค้าเกษตรประเภท ต้นไม้ กล้าไม้ เมล็ดพันธุ์ มากที่สุด ผู้บริโภคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ โดยภาพรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการยอมรับเทคโนโลยี ด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศ ด้านส่วนประสมทางการตลาด  และด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาองค์ประกอบและรูปแบบการตัดสินใจซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์กลุ่มเกษตรของผู้บริโภคผ่านระบบออนไลน์ พบว่า มีจำนวน 4 ด้าน 16 องค์ประกอบหลัก 88 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ด้านการยอมรับเทคโนโลยี มีจำนวน 4 องค์ประกอบหลัก ด้านคุณภาพของระบบสารสนเทศ มีจำนวน 3 องค์ประกอบหลัก ด้านส่วนประสมทางการตลาด มีจำนวน 4 องค์ประกอบหลัก และด้านการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรออนไลน์ มีจำนวน 5 องค์ประกอบหลัก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กัลยา Kanlaya, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ณธษา Nathasa, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ทวีศักดิ์ รูปสิงห์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2564). [รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564]จากhttps://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2020_Slides.aspx

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564]. จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Richard, M.O. & Chebat, J.C. (2016). Modeling Online Consumer Behavior : Preeminence of Emotions and Moderating Influences of Need for Cognition and Optimal Stimulation Level. Journal of Business Research, 69, 541-553.

Tam, C., & Oliveira, T. (2016). Performance impact of mobile banking: using the task-technology fit (TTF) approach. International Journal of Bank Marketing, 34(4), 434-457. https://doi.org/10.1108/IJBM-11-2014-0169

Chu, A.Z-C. and Chu, R.J-C. (2011). The intranet’s role in newcomer socialization in hotel industry in Taiwan-technology acceptance model analysis. The International Journal of Human Resource Management. 22(5), 1163-1179.

Kotler, P., and Keller, K.L. (2012). Marketing Management. 14th ed. n.p. : Pearson/Prentice Hall.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซเปอร์เน็ท.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ วันที่ 26 กรกฎาคม 2564]. จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร : บิซิเนสอาร์แอนด์ดี.

สุภมาส อังศุโชติ สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2554). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคง.

Hair, J F. and others. (2006). Multivariate Data Analysis. 6th ed. New Jersey: Pearsn Prentice – Hall International Inc.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : เพชรจรัสแสงธุรกิจ.

Thaipradit, K. (2016). Khrưakhai sangkhom khakhai o̜nlai: Khunnalaksana kho̜ng khwam tang the pentua lưak rawang fetbuk lai læ in satakræm [Social commerce: The comparative selective different characteristics among Facebook, LINE, and Instagram]. Executive Journal. 36(2), 24-38.

ฑิตาพร รุ่งสถาพร และปฐมา สตะเวทิน. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทางออนไลน์ในภาวะวิกฤต โควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑล และพิษณุโลก. วารสารนิเทศศาสตร์. 39(2),119-133.

Venkatesh, V. and Davis, F. A theoretical extension of the technology acceptance model: for longitudinal field studies. Management Science. 46(2),186-204.

กนกวรรณ กลับวงศ์. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ การยอมรับเทคโนโลยี และส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออัญมณีเครื่องประดับผ่านสื่อออนไลน์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Chen, J.V., Chen, Y. and Capistrano, E.P.S. (2013). Process Quality and Collaboration Quality on B2B e-commerce. Industrial Management & Data Systems. 113(6) ,908-926.

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการให้บริการ (Service Psychology). กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

กนกวรรณ ไทยประดิษฐ์ และกรวินท์ เขมะพันธุ์มนัส. (2563). รูปแบบการตลาดออนไลน์บนเครื่องมือเครือข่ายสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) สำหรับวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสาร BU Academic Review. 19(1),155-172.

วิเชียร วงศ์ณิชชากุล. (2550). การบริหารการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุนิสา ไตรสกุลวงศ์ ธัญญาทิพ พิชิตการค้า วิเชียร เกตุสิงห์. (2565). การศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อเจตคติในการซื้อสินค้าออนไลน์. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 34(122), 138-146.