การพัฒนารูปแบบศักยภาพบุคลากรของทีมงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย

Main Article Content

ศศิภา จันทรักษ์
ไพโรจน์ สถิรยากร
สักรินทร์ อยู่ผ่อง
วิเชียร เกตุสิงห์

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของศักยภาพบุคลากรของทีมงานผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย 2) พัฒนารูปแบบศักยภาพของทีมงานผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย และ 3) จัดทำคู่มือการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของทีมงานผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม และกลุ่มกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคู่มือการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ


       ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบศักยภาพบุคลากรของทีมงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย มีจำนวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ประสิทธิภาพด้านกระบวนการจัดการความรู้ องค์ประกอบที่ 2 ทักษะความรู้ของทีมงานด้านการจัดการความรู้ องค์ประกอบที่ 3 คุณลักษณะของทีมงานด้านการจัดการความรู้ องค์ประกอบที่ 4 ศักยภาพด้านการวางแผนและประเมินผลการจัดการความรู้ และองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการจัดการความรู้ 2) คู่มือแนวทางการพัฒนาศักยภาพของทีมงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การแนะนำคู่มือ และส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาศักยภาพของทีมงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย ซึ่งได้รับการเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ และคู่มือแนวทางได้รับการประเมินจาก
ผู้เชี่ยวชาญในด้านความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในระดับมากที่สุดเพื่อพัฒนาศักยภาพของทีมงานด้านการจัดการความรู้ของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศศิภา จันทรักษ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ไพโรจน์ สถิรยากร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

สักรินทร์ อยู่ผ่อง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วิเชียร เกตุสิงห์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

References

กรมสุขภาพจิต. (2566). สังคมผู้สูงอายุ. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 7 เมษายน 2566, จาก https://www.dmh.go.th/news/

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

บุญดี บุญญากิจ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จีระวัฒน์เอ็กเพรส.

ปุณยวีร์ พวงโต. (2563). การพัฒนารูปแบบตามกระบวนการจัดการความรู้สำหรับข้าราชการธุรการสำนักอัยการสูงสุด. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 7 มีนาคม 2566, จาก https://publication.npru.ac.th/

Marquardt, M. J. (1996). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). Knowledge Creating Company. New York: Oxford University Press.

Spencer, M., & Spencer, M. S. (1993). Competence at Work: Models for Superior Performance. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2011, จาก http://www.joe.org/

กุลทรัพย์ ทองประสิทธิ์. (2563). การพัฒนารูปแบบศักยภาพของผู้รับผิดชอบด้านการจัดการพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอภายใต้การควบคุมของกระทรวงพลังงาน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 33(1), 315-326.

ปัญญา พิมพขันธ์, สุภัททา ปิณฑะแพทย์ และสักรินทร์ อยู่ผ่อง. (2563). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 30(3), 537-546.

วินัย ไข่ขาว. (2553). สมรรถนะหลักของพนักงาน บริษัท ครัวแม่ศรีเรือน จำกัดและบริษัทในเครือ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง

McClelland, C. D. (1973). Testing for Competence rather than for Intelligence. New Jersey: American Psychologist.

พชร วงษ์แก้ว. (2558). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมภายในองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงาน กพร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). กระบวนการจัดการความรู้. [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 29 เมษายน 2566, จาก http://www.ftpi.or.th

เทอดพงษ์ หงษ์หิรัญเรือง. (2561). การพัฒนารูปแบบสมรรถนะระดับผู้จัดการธนาคารพาณิชย์ไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 122-135.