การพัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล 2) พัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล และ 3) จัดทำคู่มือแนวทางการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมสนทนากลุ่ม และกลุ่มกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคู่มือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล มีจำนวน 4 องค์ประกอบ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1) “ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค” มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.1 สารสนเทศสุขภาพ 1.2 การบริการสุขภาพและป้องกันโรค 1.3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 1.4 ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ องค์ประกอบที่ 2) “ด้านการบำบัดรักษา” มีจำนวน 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 2.1 การให้บริการด้านการรักษาโรค 2.2 การจัดระบบบริการ การรักษาพยาบาล องค์ประกอบที่ 3) “ด้านการฟื้นฟูสุขภาพ” มีจำนวน 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 3.1 การฟื้นฟูสุขภาพด้วยตนเอง 3.2 การฟื้นฟูสุขภาพและการให้การช่วยเหลือผู้ป่วย และองค์ประกอบที่ 4) “ด้านการส่งต่อการรักษา” มีจำนวน 2 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 4.1 การประสานงานการส่งต่อ 4.2 ข้อมูลสารสนเทศ 2) จัดทำคู่มือแนวทางการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล ผู้วิจัยได้ยกร่างคู่มือแนวทางการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล ที่ได้ผ่านการพิจารณาจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) มาจัดทำเป็นคู่มือแนวทางการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การแนะนำการใช้คู่มือ และส่วนที่ 2 แนวทางการพัฒนาการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัลได้รับการเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเป็นเอกฉันท์ และคู่มือแนวทางได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในด้านความเหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในระดับดีเพื่อพัฒนาการให้บริการสุขภาพในระดับบริการปฐมภูมิแบบบูรณาการของสถานพยาบาลในยุคดิจิทัลได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาล. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 53(3), 49.
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทย (ปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.
รณชัย คนบุญ. (2563). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถตนเองและทักษะชีวิตของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ต่อความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาวะทางเพศ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(3), 538-546.
อมร แก้วใส และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2555. จากHpc5.Anamai.Moph.Go.Th/Download/File_Pdf /Final_Report/ Annual_Report55.Pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). ราชกิจจานุเบกษา.
กิตติยาพร ทองแย้ม. (2565). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาพและการดูแลเท้าของผู้สูงอายุโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 17(1), 255-271.