การพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมและการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัลของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) ที่มีความสอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการประเมินวัดความพร้อมขององค์กร ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม และการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล ที่มีความเหมาะสมกับภาคอุตสาหกรรม และ 3) เพื่อพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม และการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล ขั้นตอนงานวิจัย ดังนี้ วิเคราะห์คุณวุฒิวิชาชีพ และวิเคราะห์รูปแบบการประเมินวัดความพร้อมขององค์กรที่สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรม นำข้อมูลมาพัฒนากรอบโครงร่างหลักสูตร และนำเสนอผู้เชี่ยวชาญจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในการประเมินกรอบโครงร่างหลักสูตรฯ
ผลการวิเคราะห์คุณวุฒิวิชาชีพสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัลที่เหมาะสม คือ อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) และอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) และกรอบประเมินดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มาจัดทำหลักสูตร ตามข้อกำหนดงานในการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม โดยทำการออกแบบหลักสูตรจำนวน 2 หลักสูตร มีระยะเวลาในการฝึกอบรม 15 วัน (ไม่อบรมต่อเนื่อง) หรือ 90 ชั่วโมง 1) หลักสูตรนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ในสถานประกอบการ เพื่อการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล 2) หลักสูตรอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) ในสถานประกอบการ เพื่อการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัล หลักสูตรฯ ที่ออกแบบมีเนื้อรายละเอียดที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและเงื่อนไขขอบเขตงานกิจกรรม ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นชอบให้ใช้ในการอบรมผู้ประกอบการต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2567). ขอบเขตงาน กิจกรรมดีพร้อมพัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.
ชุลีพร สุระโชติ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC). ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
มาโนช สุภาพันธ์วรกุล. (2565). การพัฒนารูปแบบฝึกอบรมผู้บริหารอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยใช้หลักการจัดการความรู้แบบวิศวกรรมความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะดิจิทัลของผู้จัดการฝ่ายผลิตโรงงานอุตสาหกรรม. ดุษฎีนิพนธ์ หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2564). มาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรม.[ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://www.tpqi.go.th/th/standard-detail/rQNWewEb3Q/MmS0Z2x2r QRWewEb3Q
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2564). ภาพรวมของสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล.[ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567] .จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th/home/occ/industrialInfo/ICT
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2564). ข้อมูลองค์กรรับรอง.[ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th/certification-body/details/CB-0002-A
ศูนย์รับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2567). อาชีพที่ได้รับการรับรองดิจิทัล.[ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://cb.kmutnb.ac.th/?page_id=212
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2566). สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ระดับ 3. [ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th/qualifications/2952
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2566). สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ระดับ 4. [ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th/qualifications/4894
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2566). สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ระดับ 5. [ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th/qualifications/4895
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2566). สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล อาชีพนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) ระดับ 6. [ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th/qualifications/4896
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2566). สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) ระดับ 3. [ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th/qualifications/4898
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2566). สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) ระดับ 4. [ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th/qualifications/4899
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2566). สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) ระดับ 5. [ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th/qualifications/4900
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2566). สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) ระดับ 6. [ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th/qualifications/4901
กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2565). Thailand i4.0 INDEX เครื่องมือชุดดัชนีชี้วัดอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับประเทศไทย: Rev.0 April 2022). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
WMG THE UNIVERSITY OF WARWICK. (2021). An Industry 4 readiness assessment tool. [ออนไลน์]. [สืบค้น 5 มกราคม 2567]. จาก https://warwick.ac.uk/fac/sci/wmg/research/scip/reports /final_version_of_i4_report_for _use_on_websites.pdf
Alcácer, Vítor & Rodrigues, João & Carvalho, Helena & Cruz-Machado, Virgilio. (2022). Industry 4.0 Maturity Follow Up Inside an Internal Value Chain: A Case Study. The International Journal of Advanced Manufacturing Technology. Issue 7-8. 2022. 10.21203/rs.3.rs-431651/v1.
สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI). มปป.คู่มือการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมสู่ความเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory). [ออนไลน์]. [สืบค้น 5 มกราคม 2567]. จากhttps://tgiweb.s3.amazonaws.com/P703/ 1576721108.f3c47f4578 ca4f08f93b7947ee7e1837.pdf
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร. (2565). คูมือประเมินความพรอมเป็นองคกรดิจิทัล เพื่อพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการอุตสาหกรรม พื้นฐานเขาสู่อุตสาหกรรม 4.0. [ออนไลน์]. [สืบค้น 4 มกราคม 2567]. จาก http://id4mas.dpim.go.th/file/manual-main1.pdf
ภานุวัฒน์ บริบูรณ์, ไพรัช วงศ์ยุทธไกร, อัมพร กุญชรรัตน์. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การอนุรักษ์พลังงานแบบมีส่วนร่วมในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 5(2), 68-75.
สุพิชชา ชีวพฤกษ์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการในโรงงานอุตสาหกรรมให้เกิดความยั่งยืน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(1), 187-196.
วิโรจน์ ยิ้มขลิบ, จรัสพิมพ์ วังเย็น, ไพรัตน์ ปุญญาเจริญนนท์, ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์ และฉันทนา ธนาพิธานนท์. (2564) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น. วารสารวิจัยราชภัฏธนบุรีรับใช้สังคม, 7(1), 15-33.