ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์กรที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในงาน และพฤติกรรมการทำงานของพนักงานวิศวกร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยองค์กรและปัจจัยด้านพฤติกรรมการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยองค์กรและปัจจัยด้านพฤติกรรมการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในงานของพนักงานวิศวกร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยจำแนกตามกลุ่มปัจจัยส่วนบุคคล เพศ อายุ ระดับวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ พนักงานวิศวกรปฏิบัติการในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 589 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลวิจัย พบว่า ปัจจัยองค์กรที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในงานอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับได้แก่ การสนับสนุนของเพื่อนร่วมงาน ด้านการมอบหมาย การให้โอกาสในการพัฒนาและปัจจัยด้านพฤติกรรมการทำงานที่ส่งเสริมความก้าวหน้าในงานอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านมีความพยายามในงาน
อยู่ในระดับมากเป็น 3 ด้าน เรียงตามลำดับได้แก่ ด้านมีความรู้ความสามารถในงาน มีจิตใจจดจ่อในงาน และความรักในงาน พนักงานวิศวกรที่มีเพศต่างกัน ให้ความสำคัญด้านปัจจัยองค์กรแตกต่างกัน แต่มีพฤติกรรมการทำงาน ไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานวิศวกรที่มีอายุแตกต่างกัน ให้ความสำคัญด้านปัจจัยองค์กรไม่แตกต่างกัน แต่มีพฤติกรรมในการทำงานแตกต่างกัน พนักงานที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญด้านปัจจัยองค์กรและมีพฤติกรรมการทำงานไม่แตกต่างกัน และปัจจัยองค์กรด้านการสนับสนุนของเพื่อนร่วมงาน ด้านการมอบหมายงานและด้านการให้โอกาสในการพัฒนามีความสัมพันธ์เชิงบวก กับพฤติกรรมการทำงาน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เพ็ญศรี วายวานนท์. (2537). การจัดการทรัพยากรคน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญนภา สังข์สุวรรณ. (2547). การพัฒนาแบบทดสอบวัดคุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสานักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี.วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สงขลา : คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการวัดผลศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ละเอียด ศิลาน้อย. (2558). การทดสอบเครื่องมือ (แบบสอบถาม) ที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วย IOC และ Reliability Analysis กรุงเทพมหานคร : บางกอกบลูพริ้นต์.
สุกัญญา สิงห์คาร. (2562). ความก้าวหน้าเทคโนโลยีสำหรับงานความมั่นคงปลอดภัย.
ธาดา ราชกิจ. (2562). POLC - ทฤษฎีการจัดการที่สร้างประสิทธิภาพให้กับองค์กร. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2563]. จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190619-polc management-concept/
เทียนศรี บางม่วงงาม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ผ่านโครงการอบรมวิศวกรใหม่กรณีศึกษา : บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร.สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก
นลพรรณ บุญฤทธ์. (2558) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา